การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณไอโซไซม์ไคติเนสของต้นพริกขี้หนูที่ถูกทำลายทางกายกาพกับต้นพริกขี้หนูโดยทั่วไป
พริกเป็นผักที่มีการปลูกมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารไทย และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ นอกจากนี้ประเทศไทยยังส่งออกพริกสดเป็นจำนวนมาก จึงนับว่าพริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย พริกที่ปลูกในประเทศไทยมีสองชนิด คือ พริกชี้ฟ้า (Capsicum annuum L.) และ พริกขี้หนู (Capsicum frutescens L.) เอนไซม์ไคติเนสสามารถย่อยไคตินได้ โดยทั่วไปเอนไซม์ไคติเนสที่พบในพืชจะมีปริมาณน้อย แต่จะถูกเหนี่ยวนำให้สร้างขึ้นในปริมาณที่มากกว่าเดิมเมื่อพืชถูกทำลาย โครงงานนี้สนใจที่จะศึกษาเอนไซม์ไคติเนสที่พริกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านการถูกทำลายทางกายภาพ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชอ่อนแอ อาจติดเชื้อโรคได้ง่าย โดยจะศึกษาหารูปแบบและปริมาณของไอโซไซม์ไคติเนส ในพริกรวมทั้งระดับของแอคติวิตีของเอนไซม์ชนิดนี้ด้วย โดยจะมีประโยชน์ในการนำไปเป็นพื้นฐานเพื่อการนำไปใช้ฟื้นฟูสภาพต้นพริกต่อไป โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1. วิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนทั้งหมดและปริมาณของไอโซไซม์ไคติเนสที่เกี่ยวข้องกับกลไกการ ป้องกันตัวเอง (defense mechanism) ในต้นพริกขี้หนูในอายุ 25 วัน 40 วัน และ 55 วัน 2. เปรียบเทียบระดับของไคติเนสแอคติวิตีในต้นพริกขี้หนูก่อนและหลังถูกทำลายทางกายภาพ โดยใช้เทคนิค Native - Polyacrylamind Gel Electrophoresis ( Native-PAGE )
-
5378 การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณไอโซไซม์ไคติเนสของต้นพริกขี้หนูที่ถูกทำลายทางกายกาพกับต้นพริกขี้หนูโดยทั่วไป /index.php/project-all/item/5378-2016-09-09-03-36-51-5378เพิ่มในรายการโปรด