การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแยกสารด้วยการฝัดข้าว
ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีอาชีพหลักคือการเกษตร การฝัดข้าวนั้นมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ทางผู้จัดทำเห็นว่าผู้ฝัดแค่โยนข้าวขึ้นลงและเขย่ากระด้งเท่านั้น ทำไมจึงสามารถแยกเปลือกข้าว ข้าวสารและเปลือกข้าวออกจากกัน ได้ ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาและออกแบบการทดลองดังนี้การทดลองที่ 1 เป็นการทดลองว่าผิววัสดุที่มีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่างกันมีผลต่อการแยกกันของเปลือกข้าวและปลายข้าวอย่างไร พบว่า ถ้าวัสดุที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานมากๆ จากสามารถแยกกันได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น เนื่องจากข้าวเปลือกและข้าวมีมวลไม่เท่ากันทำให้การเคลื่อนที่ไม่เท่ากันไปด้วย การทดลองที่ 2 เป็นการทดลองว่าสารที่ใช้แยกที่มีขนาดของอนุภาคไม่เท่ากันมีผลอย่างไรต่อการแยกออกจากกัน พบว่า ขนาดของอนุภาคภาคที่มีขนาดต่างกันมากๆ จะสามารถแยกกันได้ง่ายกว่าสารที่มีขนาดของอนุภาคที่ใกล้กัน โดยสารที่มีอนุภาคขนาดเล็กจะแทรกตัวมาอยู่ด้านล่างของอนุภาคขนาดใหญ่ การทดลองที่ 3 เป็นการทดลองว่ามุมที่ใช้ในการยกกระด้งในการแยกสารนั้นมีผลอย่างไรในการแยกเปลือกข้าวและปลายข้าวออกจากกัน พบว่าขนาดของมุม 30 องศาจะสามารถแยกได้ดีที่สุด เพราะว่าถ้าหากขนาดของมุมมากกว่านี้ปลายข้าวที่โยนขึ้นไปจะปลิวเข้าหาตัวผู้ฝัด แต่ถ้าโยนโดยใช้มุมน้อยกว่า 30 องศา ปลายข้าวจะไม่สูงมากนักทำให้ต้องโยนหลายรอบ การทดลองขั้นต้นแสดงว่าภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีอะไรลึกซึ้งกว่ารูปแบบภายนอกแต่ที่เห็น และการฝัดข้าวอาจเป็นอีกเป็นกระบวนการหนึ่งในการแยกสาร 2 สิ่งออกจากกัน เป็นทางเลือกหนึ่งในอนาคตที่สามารถแยกสารลักษณะเป็นของแข็งออกจากกัน
-
5388 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแยกสารด้วยการฝัดข้าว /index.php/project-all/item/5388-2016-09-09-03-36-55-5388เพิ่มในรายการโปรด