การสังเคราะห์ Methyl Farnesoate (MF) ทางชีวเคมีโดยใช้ Mandibular Organs (MOs) จากกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) และการสังเคราะห์ทางเคมีโดยใช้ MnO2 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ชื่อผู้ทำโครงงาน
วนัชพร อรุณมณี
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่ม
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
เคมี
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาผลของ GnRH ต่อการสังเคราะห์ Methyl Farnesoate (MF) ใน Mandibular Organs (MOs) ของกุ้งก้ามกราม ติดตามการสังเคราะห์ MF โดยใช้ [3H] – Methionine เป็นสารตั้งต้น ได้ผลิตภัณฑ์คือ [3H]-MF ซึ่งหลังจากทำการสกัดด้วย chloroform แล้วนำมาแยกด้วย Thin Layer Chromatography (TLC) วัดปริมาณรังสีของ Tritium โดยใช้ Liquid Scintillation Counter (LSC) ซึ่งปริมาณรังสีจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณ [3H]-MF ได้ผลการทดลองคือ GnRH มีแนวโน้มกระตุ้นการสังเคราะห์ Methyl Farnesoate ใน Mandibular Organs (MOs) ของกุ้งก้ามกราม นอกจากนี้ได้ทำการสังเคราะห์ Methyl Farnesoate ทางเคมีโดยอาศัยปฏิกิริยา trans, trans-farnesol กับ KCN และ MeOH โดยมี MnO2 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้ผลิตภัณฑ์ในระดับที่น่าพอใจ
คำสำคัญ
สังเคราะห์,ชีว,เคมี,,กุ้ง,ก้าม,กราม
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วนัชพร อรุณมณี
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5527 การสังเคราะห์ Methyl Farnesoate (MF) ทางชีวเคมีโดยใช้ Mandibular Organs (MOs) จากกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) และการสังเคราะห์ทางเคมีโดยใช้ MnO2 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา /index.php/project-all/item/5527-methyl-farnesoate-mf-mandibular-organs-mos-macrobrachium-rosenbergii-mno2เพิ่มในรายการโปรด