สมบัติทางพลังงานของกรดไพโรลิดินิลเปปไทด์นิวคลีอิกที่ยึดกับอาร์เอ็นเอโดยวิธีการคำนวณทางควอนตัม
ผลการคำนวณพลังงานไอออไนเซชันของกรดเปปไทด์นิวคลีอิก(พีเอ็นเอ)ที่มีแกนหลักเป็นหมู่ไพโรลิดินิลที่ยึดกับอาร์เอ็นเอด้วยโครงสร้างแบบขนานและขนานสวนด้วยวิธีเคมีควอนตัมระดับการคำนวณที่ HF/6-31G* พบว่า หมู่ไพโรลิดินิลมีผลทำให้พลังงานไอออไนเซชันของคู่พีเอ็นเอ-อาร์เอ็นเอที่มีโครงสร้างแบบขนานเพิ่มขึ้นมากกว่าโครงสร้างแบบขนานสวน นั่นคือนิวคลีโอเบสของคู่พีเอ็นเอ-อาร์เอ็นเอที่มีโครงสร้างแบบขนานถูกออกซิไดส์ได้ยากกว่าแบบขนานสวน นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างโมเลกุลแบบขนานมีความเสถียรกว่าโครงสร้างแบบขนานสวน ในแต่ละคู่เบสตำแหน่งออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่มีพลังงานสูงสุดที่มีการบรรจุอิเล็กตรอนอยู่ที่เบสกัวนีนสำหรับคู่กัวนีน-ไซโทซีน และอยู่ที่เบสอะดินีนสำหรับคู่อะดินีน-ยูราซิลเสมอโดยไม่ขึ้นกับแกนหลัก ซึ่งสอดคล้องกับค่าพลังงานไอออไนเซชันของเบสเดี่ยวกัวนีนมีค่าต่ำที่สุดรองลงมาคืออะดินีน ไซโทซีน และยูราซิลตามลำดับ
-
5538 สมบัติทางพลังงานของกรดไพโรลิดินิลเปปไทด์นิวคลีอิกที่ยึดกับอาร์เอ็นเอโดยวิธีการคำนวณทางควอนตัม /index.php/project-all/item/5538-2016-09-09-03-39-12-5538เพิ่มในรายการโปรด