ศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนไหม Bombyx mori ในไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แบบส่องกราด
ชื่อผู้ทำโครงงาน
อนุทิน พยุงวงษ์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
สาน วิไล อาจินต์ รัตนพันธุ์ และนวลอนงค์ นาคคง
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนไหมในไข่ไหมพันธุ์สำโรง โดยนำเอาตัวอ่อนของไหมในแต่ละวัน มาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าไข่ไหมที่มีอายุ 1 วันหลังจากวางไข่ จะเกิด Cleavage Blastulation และ Germ band ตามลำดับ ไข่ไหมอายุ 2 และ 3 วันจะยังสังเกตเห็นตัวอ่อนไม่ชัดเจน ไข่ไหมอายุ 4 วัน เป็นระยะที่ตัวอ่อนกลับตัว ไข่ไหมอายุ 5 และ 6 วันตัวอ่อนจะเกิดข้อปล้องสมบูรณ์ไข่ไหมอายุ 7 วันเริ่มเกิดจุดสี ส่วนหัวเริ่มมีสารไคตินเกิดขึ้น โดยไข่ไหมอายุ 8 วันมีสารไคตินที่ส่วนหัวสมบูรณ์ ลำตัวเริ่มมีสี และไข่ไหมอายุ 9 วันจะเกิดเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์ หลังจากนั้นจะฟักออกจากไข่เป็นตัวหนอนต่อไป จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ตัวอ่อนไหมพันธุ์สำโรงจะมีพัฒนาการที่เร็วกว่าไหมพันธุ์ไทย อื่นๆโดยทั่วไป
คำสำคัญ
ตัว,อ่อน,ไหม,Bombyx,mori
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อนุทิน พยุงวงษ์
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5786 ศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนไหม Bombyx mori ในไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แบบส่องกราด /index.php/project-all/item/5786-bombyx-moriเพิ่มในรายการโปรด