การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในกล้วยไม้ม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima Lindl.) ร่วมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของสารโคลชิซินและระยะเวลาที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในกล้วยไม้ม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima Lindl.) โดยเลี้ยงโพรโทคอร์มในอาหารเหลวสูตร NDM (New Dogashima Medium, 1993) ที่มีสารโคลชิซินความเข้มข้น 0.05% และ 0.1%(w/v) เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง จากนั้นย้ายมาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร NDM เป็นเวลา 3 เดือน ทำการศึกษาจำนวนโครโมโซมจากปลายรากของกล้วยไม้ม้าวิ่งโดยใช้ aceto-orcien squash technique พบว่ากล้วยไม้ม้าวิ่งที่ไม่ได้รับการชักนำมีจำนวนโครโมโซม 2n = 2x = 38 ส่วนกล้วยไม้ม้าวิ่งที่ผ่านการชักนำโดยสารละลายโคลชิซินความเข้มข้น 0.05% และ 0.1% (w/v) เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง มีจำนวนโครโมโซม 2n = 4x = 76 การชักนำโดยใช้สารโคลชิซินที่ความเข้มข้นสูงทำให้อัตราการรอดชีวิตของต้นอ่อนลดลง ดังนั้นสารละลายโคลชิซินความเข้มข้น 0.05% (w/v) ที่เวลา 72 ชั่วโมง เหมาะสมที่สุดในการชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในกล้วยไม้ม้าวิ่ง เพื่อยืนยันการเกิดโพลีพลอยด์ในกล้วยไม้ม้าวิ่งได้ทำการ ตรวจสอบใบกล้วยไม้ด้วยวิธีโฟลไซโทเมทรี
-
5839 การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในกล้วยไม้ม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima Lindl.) ร่วมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ /index.php/project-all/item/5839-doritis-pulcherrima-lindlเพิ่มในรายการโปรด