รูปแบบฟอสฟอรัสในดินตะกอนบริเวณป่าชายเลนที่ระดับความลึกต่างๆ
ศึกษาปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดและรูปแบบฟอสฟอรัสในดินตะกอน บริเวณป่าชายเลนที่ระดับความลึกต่างๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัสที่ดึงดูดอย่างหลวม (Loosely–P) รูปแบบที่จับอยู่กับอะลูมิเนียม (Al–P)รูปแบบที่จับอยู่กับเหล็ก (Fe–P) และรูปแบบที่จับกับแคลเซียม (Ca–P) ในดินใต้ต้นโกงกางใหญ่ โกงกางใบเล็ก และแสม ในเดือน พ.ย. 2550 บริเวณวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ พบว่าฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินป่าชายเลนด้านนอกของต้นไม้ทั้งสามชนิด มีแนวโน้มไม่แน่นอนตามระดับความลึก ส่วนใต้ต้นโกงกางใบใหญ่บริเวณด้านในมีแนวโน้มลดลงและมีปริมาณสูงกว่าด้านนอกในทุกระดับความลึก ส่วนฟอสฟอรัสรูปแบบต่างๆ พบว่า Loosely–P ใต้ต้นไม้ทั้งสามชนิดมีแนวโน้มไม่แน่นอนตามระดับความลึก ส่วนบริเวณด้านในมีแนวโน้มลดลงตามระดับความลึกและมีปริมาณสูงกว่าด้านนอกในทุกระดับชั้น ส่วนรูปแบบFe–Pในดินป่าชายเลนด้านนอกใต้ต้นโกงกางใบใหญ่มีแนว โน้มลดลงตามระดับความลึก ส่วนด้านในมีแนวโน้มลดลงตามระดับความลึกและมีปริมาณที่สูงกว่าด้านนอกในทุกระดับชั้น สำหรับรูปแบบ Al – P และ Ca – Pตรวจไม่พบทั้งสองรูปแบบในทุกระดับความลึก ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน ค่าพีเอชค่าอินทรียวัตถุในดิน ความใกล้ไกลทะเล และการขึ้นลงของน้ำทะเล
-
5867 รูปแบบฟอสฟอรัสในดินตะกอนบริเวณป่าชายเลนที่ระดับความลึกต่างๆ /index.php/project-all/item/5867-2016-09-09-03-43-00-5867เพิ่มในรายการโปรด