การศึกษา cercaria ของพยาธิใบไม้ในหอยน้ำจืดโดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล
การศึกษา cercaria ในหอยน้ำจืดจากสายของน้ำตกสาริกาในจังหวัดนครนายก และสายของน้ำตกกระทิงในจังหวัดจันทบุรี พบตัวอ่อนพยาธิระยะ cercaria 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 เป็นกลุ่ม Furcocercous พบในหอย Filopaludina martensi ที่เก็บจากจังหวัดนครนายก โดยพบอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ 3.85% และชนิดที่ 2 เป็นกลุ่ม Leptocercous พบในหอย Filopaludina martensi และ Indoplanorbis sp. ที่เก็บจากจังหวัดจันทบุรี โดยพบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ 6.45% และ 60% ตามลำดับ เมื่อนำมาศึกษาทางชีววิทยาระดับโมเลกุลโดยใช้บางส่วนของยีน COI และบริเวณ ITS2 พบว่าพยาธิชนิดที่ 1 มีเปอร์เซ็นต์ identity กับพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma mekongi (78%) และพยาธิชนิดที่ 2 มีเปอร์เซ็นต์ identity กับพยาธิใบไม้ลำไส้Choanocotyle platti (84%) ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพยาธิใบไม้ทั้ง 2 จีนัส --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: A study of trematode cercariae from freshwater snails collected from branches of Sarika waterfall, Nakorn Nayok Province and from branches of Krating waterfall, Chantaburi Province found 2 types of cercariae, namely Furcocercous and Leptocercous. The former type of cercariae was obtained from a gastropod host, Filopaludina martensi, in Nakorn Nayok Province with the infection rate of 3.85%. The latter type of cercariae was obtained from two gastropod hosts, Filopaludina martensi and Indoplanorbis sp. in Chantaburi Province with the infection rate of 6.45% and 60%, respectively. Based on molecular techniques using partial COI and ITS2 regions the results revealed that the former type of cercariae had 78% identity with a blood fluke, Schistosoma mekongi while the latter type of cercariae had 84% identity with an intestinal fluke, Choanocotyle platti. These results corresponded well with morphological characteristics of the trematodes in both genera.
-
6044 การศึกษา cercaria ของพยาธิใบไม้ในหอยน้ำจืดโดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล /index.php/project-all/item/6044-cercariaเพิ่มในรายการโปรด