การศึกษาความหลากหลายและการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในไลเคนบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
ศึกษาความหลากหลายและการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในไลเคนที่เจริญอยู่บนลำต้นของต้นมะม่วง (Mangifera indica L.) บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน คัดเลือกพื้นที่ศึกษารวมทั้งหมด 6 พื้นที่และต้นมะม่วง จำนวนพื้นที่ละ 6 ต้น จากการศึกษาพบไลเคนกลุ่มฟอลิโอส 5 ชนิด โดย Pyxine cocoes มีความถี่รวมสูงที่สุด และกลุ่มครัสโตส 23 ชนิด โดยพบ sterile crust มากที่สุด โดยพบว่าเขตตัวเมืองเชียงใหม่มีค่าดัชนีความหลากหลายต่ำสุดคือ 1.66 ในขณะที่พบค่าสูงสุดคือ 2.43 ที่หมู่บ้านวังหมุ้น อำเภอแม่ริม และหมู่บ้านปากคลอง อำเภอสารภี และพบการเกิดการฟอกขาวของทัลลัสในไลเคนกลุ่มฟอลิโอส 3 ชนิด คือ Dirinaria picta , Hyperphyscia adglutinata และ Pyxine cocoes ในทุกพื้นที่ศึกษา ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุหลักมาจากการเกิดวิกฤตการณ์หมอกควันเมื่อต้นปี พ.ศ.2550 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ Abstact: Diversity and bleaching of lichens on mango tree (Mangifera indica L.) was studied in Chiang Mai and Lamphun Province. There were 6 selected study areas that six mango trees were randomly selected in each study area. This result showed that five spesies of foliose were found and Pyxine cocoes was most frequent. Twenty-three species of crustose lichens were found and sterile crust were most frequent. Analysis of lichen diversity showed that Chiang Mai city had lowest diversity; 1.66. Whereas, Mae Rim and Sara Phi district site had highest diversity; 2.43. Bleached lichen thallus were found in all study areas, which belong to three species of foliose lichen: Dirinaria picta , Hyperphyscia adglutinata and Pyxine cocoes. It was suspected that the main cause of bleaching in lichen was from a critical air pollution which occurred at the beginning of 2007.
-
6055 การศึกษาความหลากหลายและการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในไลเคนบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน /index.php/project-all/item/6055-2016-09-09-03-45-22-6055เพิ่มในรายการโปรด