การเจริญเติบโตของต้นโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.) ในแปลงปลูกที่เจริญจากการตัดฝัก
จากการศึกษาการเจริญเติบโตของสวนป่าโกงกางใบใหญ่อายุ 14 ปี ที่เจริญจากเทคนิคการตัดฝักออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนยอด ส่วนกลาง และส่วนโคน สืบเนื่องจากการศึกษาของ Komiyama และคณะ(1998) พบว่า การเจริญเติบโตของต้นที่เจริญจากส่วนกลางมีค่ามากที่สุดในหน่วยทดลองที่ใช้เทคนิคการตัดฝัก มวลชีวภาพที่ได้จากต้นที่เจริญจากเทคนิคการตัดฝักแต่ละส่วน น้อยกว่ามวลชีวภาพที่ได้จากชุดควบคุมประมาณ 1.5 เท่า และมีแนวโน้มว่า ในอนาคต การเจริญเติบโตของต้นที่เจริญจากเทคนิคการตัดฝักทั้ง 3 ส่วนมีค่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงว่าเทคนิคการตัดฝักสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นกล้าที่ปลูกในธรรมชาติได้ ทั้งจำนวนและปริมาณของต้นที่เจริญจากเทคนิคการตัดฝักทั้ง 3 ส่วนรวมกัน มากกว่าชุดควบคุมประมาณ 2 เท่า ซึ่งเหมาะกับการปลูกสวนป่าที่ต้องการปริมาณไม้โกงกางจำนวนมากในเวลาอันสั้น ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: This study monitored the growth of R. mucronata cut pieces that was divided into 3 parts: top,middle and bottom; in plantation (14 years old) after Komiyama et al. (1998). Among the cut pieces, the middle parts showed the highest average stem diameter and height. Biomass of R. mucronata cut pieces was lower than that in control which was planted by using intact seedling, about 1.5 times. However, there was a trend that growth rates among R. mucronata cut pieces will be similar in the future. It was proved that cut-piece method can serve for the lack seedling in any mangrove plantation. Moreover, the total of biomass production of all parts of R. mucronata cut pieces was approximately 2 times of that in control.The result suggested that the cut-piece method provides large wood-plantation in a short time for a R.mucronata plantation.
-
6060 การเจริญเติบโตของต้นโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.) ในแปลงปลูกที่เจริญจากการตัดฝัก /index.php/project-all/item/6060-rhizophora-mucronata-poirเพิ่มในรายการโปรด