การศึกษาการแตกตัวของ MEH-PPV Aggregates ในสารละลายด้วยวิธีสเปกโตรสโกปี: ผลของตัวทำละลาย, ความเข้มข้น และ อุณหภู
งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการแตกตัวและการเข้าจับกันของ poly-2-methoxy-5-(2-ethylhexyloxy)-1,4phenylenevinylene(MEH-PPV) ในตัวทำละลายชนิดต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ และตัวทำละลายคู่ผสม จากการศึกษาโดยใช้วิธีวัดสมบัติการดูดกลืนแสงและการคายแสงของสารละลายที่อุณหภูมิต่างๆ พบว่า MEH-PPV ในตัวทำละลายแต่ละชนิดมีพฤติกรรมการแตกตัวและการเข้ามาจับตัวกันที่แตกต่างกัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและความเป็นขั้วของตัวทำละลายที่ใช้ การเพิ่มอุณหภูมิมีผลทำให้เกิดการแยกออกจากกันของ MEH-PPV aggregates ซึ่งสังเกตได้จากการลดลงของของความเข้มของพีคการดูดกลืนแสงและการคายแสงที่ตำแหน่ง 550 nm และ 590 nm ตามลำดับ การใช้ตัวทำละลายแอลกอฮอล์ที่มีความเป็นขั้วสูงเช่น บิวทานอล จะส่งผลทำให้สายโซ่โมเลกุลเดี่ยวเกิดการหดตัวอย่างมาก ซึ่งการหดตัวนี้จะขัดขวางการเข้าซ้อนทับกันของสายโซ่หลักทำให้เกิด aggregates ได้ยาก เมื่อทำการลดความเป็นขั้วของตัวทำละลายแอลกอฮอล์อย่างเป็นระบบ จะสังเกตพบการเข้าซ้อนทับกันเกิดเป็น aggregates ได้ง่ายขึ้นคาดว่าเกิดจากการคลายตัวของสายโซ่โมเลกุลเดี่ยวที่มากขึ้นนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตัวทำละลายก็มีผลต่อการเกิด aggregates เช่นกัน โดยที่ในตัวทำละลายผสมระหว่างโทลูอีนกับไซโคลเฮกเซนสามารถเกิด aggregates ได้ค่อนข้างง่ายกว่าเมื่อเทียบกับระบบของตัวทำละลายผสมระหว่างไพริดีนกับไซโคลเฮกเซน คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากลักษณะรูปร่างของสายโซ่โมเลกุลเดี่ยวที่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายไม่มีผลต่อพฤติกรรมการแตกตัวและการเข้าจับกันของ aggretaes มากนัก
-
6283 การศึกษาการแตกตัวของ MEH-PPV Aggregates ในสารละลายด้วยวิธีสเปกโตรสโกปี: ผลของตัวทำละลาย, ความเข้มข้น และ อุณหภู /index.php/project-all/item/6283-meh-ppv-aggregatesเพิ่มในรายการโปรด