การวางตัวทางดาราศาสตร์ของปูชนียสถานทางภาคเหนือของไทย
จากสมมติฐานที่ว่าปูชนียสถานทางภาคเหนือถูกจัดวางเพื่อจุดประสงค์ทางดาราศาสตร์ เช่น เพื่อการเพิ่มเดือนแปดในปีอธิกมาศ ตามปฏิทินจันทรคติไทย ทำให้มีการศึกษารายละเอียดการจัดวางตำแหน่งของปูชนียสถานในทางปฏิบัติโดยใช้ลานอุโบสถในวัดโพธาราม(เจ็ดยอด) จังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานที่ทำการศึกษา การวัดมุมใช้กล้องดูดาววัดเทียบกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ และใช้การคำนวณ แผนที่ดาวเทียม และโปรแกรมสร้างภาพสามมิติ ช่วยในการสรา้งแบบแปลน เพื่อหาข้อสรุปของสมมติฐานข้างต้น พบว่าเมื่อยืนอยู่หน้าอุโบสถและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก การจัดเรียงของเสาพัทธสีมาทางด้านทิศตะวันออกคู่นอกสุดทำมุม 23.5 องศากับทิศตะวันออก ที่แท้จริงนั้นคือ ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าในมุมราบที่มีขอบเขตไม่เกินเสาคู่ นอกทั้งสองต้นนี้ จึงสรุปได้ว่า เสาพัทธสีมาด้านทิศตะวันตกของลานอุโบสถวัดเจ็ดยอดมีไว้ดูดวงอาทิตย์เพื่อให้ทราบวันในรอบหนึ่งปี อย่างไรก็ตามตำแหน่งผู้สังเกตดังกล่าว ไม่ได้อยู่ตรงกลางหน้าอุโบสถพอดี -------------------------------------------------------------- Since it is believe that sacred places in the north of Thailand were aligned due to some astronomical reasons, such as adding another eighth month into a Thai lunar calendar, the alignment at the temple hall of Wat Jed Yod in Chiang mai was studied to prove the hypothesis. The angle measurement was done by using a telescope to identify sun's positions. A calculation and a computer software were used to create a three dimensional model which shows how the alignment relates to the sun's position. If we stand in front of the temple hall, it is found that a couple of monastery poles make an angle of 23.5 degree from the true East. That is the sun will always rise from a horizon not more Northern nor Southern than positions of these two poles. It is shown that the Northern Thai ancestors used these poles to identify days of the year. However, the true position of an observer is not exactly at a center of a temple hall’s frontage.
-
6436 การวางตัวทางดาราศาสตร์ของปูชนียสถานทางภาคเหนือของไทย /index.php/project-all/item/6436-2016-09-09-03-49-44-6436เพิ่มในรายการโปรด