การศึกษาความเข้มข้นของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ส่งผลต่อ ระยะเวลาการคืนกลับของสีของกระดาษสา
ในปัจจุบันต่างประเทศมีการกีดกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์กระดาษสา จากประเทศไทย เนื่องจากการใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ซึ่งเป็นสารอันตรายในการฟอกขาว ผู้ผลิตจึงได้เปลี่ยนมาใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ไม่เป็นอันตรายแต่ขจัดสารลิกนินในเยื่อปอสาได้น้อยกว่าแทน ซึ่งลิกนินจะส่งผลให้กระดาษสามีการคืนกลับสีเดิมหลังจากที่ฟอกสี ทำให้กระดาษสาเกิดมีสีเหลืองขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จึงได้มีการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำให้กระดาษสาคงสภาพสีขาวอยู่ได้เป็นเวลานาน การทดลองทำโดยผลิตกระดาษสาที่ผ่านการฟอกขาวด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทีมีความเข้มข้น 1 2 3 4 และ 5% จากนั้นเก็บบันทึกภาพทุก 2 สัปดาห์เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อทำการหาค่าเม็ดสีในภาพโดยใช้โปรแกรม Photoshop CS2 นอกจากนี้ยังทำการหาปริมาณลิกนินทั้งก่อนและหลังฟอกโดยอาศัยการทำปฏิกิริยาระหว่างลิกนินกับ KMnO4 แล้วนำมาไทเทรตด้วย Na2S2O3 และรายงานค่าปริมาณลิกนินโดยการคำนวณเลขแคปปา ผลการทดลองพบว่าเยื่อกระดาษสาที่ฟอกสีด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มขน 4% มีประสิทธิภาพในการขจัดลิกนินได้มากกว่าค่าความเข้มนข้นอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้กระดาษสาคงสภาพสีขาวหลังจากการฟอกสีอยู่ได้นานที่สุด โดยให้อัตราการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีต่อเดือนเท่ากับ 0.81 และค่าเลขแคปปาเท่ากับ 0.54
-
6638 การศึกษาความเข้มข้นของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ส่งผลต่อ ระยะเวลาการคืนกลับของสีของกระดาษสา /index.php/project-all/item/6638-2016-09-09-03-52-04-6638เพิ่มในรายการโปรด