การศึกษาสารเคมีต้านมาลาเรีย
มาลาเรียเป็นโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก การป้องกันและรักษาโรคให้หายขาดเป็นไปได้ยากเพราะปัญหาการดื้อยาของเชื้อ Plasmodium falciparum จึงจำเป็นต้องมีการสังเคราะห์ยาใหม่ๆออกมาให้ทันกับการดื้อยาของเชื้อ ซึ่งก็ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของยาตัวเดิมเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงตัวยาใหม่ โครงงาน “การศึกษาสารเคมีต้านมาลาเรีย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิด complex ระหว่าง chloroquine, pyronaridine และ 3, 6-diamino-9-anilinoacridine โดยใช้เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนปกติเป็นตัวแทน parasite cell นำมาใส่ Heme และยาลงไปนำไป incubate ที่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้ววัดค่า O.D. เพื่อนำไปหา %lysis จากผลการทดลองพบว่า chloroquine เป็นยาที่เสริมฤทธิ์การเกิด Hemolysis ของ Heme แต่ pyronaridine ขัดขวางการเกิด Hemolysis ส่วน 9-anilinoacridine ยังไม่ได้ทำการทดลอง
-
4980 การศึกษาสารเคมีต้านมาลาเรีย /index.php/project-biology/item/4980-2016-09-09-03-25-18_4980เพิ่มในรายการโปรด