Nano filter กับการดักจับแบคทีเรีย
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านทางเดินหายใจ ที่เกิดจากการรับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้จะเกาะมากับพวกฝุ่นละออง และเข้าสู่ร่างการของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว เมื่อเข้าสู่ร่างการเรามาก รวมกับถ้าร่างกายเราอ่อนแอหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แบคทีเรียพวกนี้ก็จะสร้างปัญหากับสุขภาพเราอย่างร้ายแรง โครงงานนี้มุ่งศึกษาความสามารถในการกรองของแผ่น Nano filter จาก Folystyrene โดยเทคนิค Electrospinning แล้วนำมาทดสอบกับ แบคทีเรีย Streptococus pyogens ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อโรคทางทางเดินหายใจมากมาย แต่เนื่องจากเป็นแบคทีเรียที่อันตรายมาก จึงได้นำ Lactococus lactis มาใช้ทดสอบแทน เพราะมีขนาดใกล้เคียงและเป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกัน โดยการนำแผ่น Nano filter จาก Polystyrene ที่มีความเข้มข้น 15% 20% 25% w/v นำไปทดสอบโดยการกรองด้วยวิธีใช้หลอดฉีดยาแล้วนำสารละลายก่อนและหลังการกรองไปตรวจสอบกับเครื่องวัดการดูดกลืนแสงของสารละลาย และตรวจสอบอีกวิธีด้วยการนำเชื้อก่อนและหลังการกรองไป Dilute เชื้อ แล้วนำไป spread plate นับจำนวนเชื้อ และนำแผ่น Nano filter บางส่วนไปสัมผัสกับ เชื้อเพื่อดูว่า Polystyrene มีผลกับ L. lactis หรือไม่ และได้มีการนำแผ่น Nano filter จาก Polystyrene ที่ได้นำไปวิเคราะห์ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศ์อิเล็คตรอนแบบสแกนนิง (SEM) เพื่อวัดขนาดรูและเส้นใยในการกรอง ซึ่งสามารถอ้างอิงกับผลการทดลองได้ ผลการศึกษาพบว่า แสงดูดกลืนก่อนการกรองมีค่าใกล้เคียงกับหลังการกรอง ส่วนการนับจำนวนเชื้อมีจำนวนใกล้เคียงกัน จึงสรุปว่าแผ่น Nano filte จาก Polystyrene ทุกความเข้มข้นที่ใช้ศึกษาไม่สามารถกรองแบคทีเรีย L. lactis ได้ เนื่องจากยังไม่สามารถทำให้ขนาดรูของแผ่น Nano filter จาก Polystyrene เล็กกว่าขนาดของแบคทีเรีย L. lactis ได้
-
5087 Nano filter กับการดักจับแบคทีเรีย /index.php/project-biology/item/5087-nano-filterเพิ่มในรายการโปรด