Serching for the ³ -tocopherolMethyltransferase production gene in Thai frit plants
α -tocopherol เป็นโครงสร้างหนึ่งของ Vitamin E ซึ่งถือเป็นสาร Anitioxidant ที่มีพลังสำคัญภายในเซลล์ร่างกายของมนุษย์ ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบเลือดและระบบสืบพันธุ์ โดยการสังเคราะห์ α -tocopherol ในพืชจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของ co-enzyme หลายชนิด โดย γ -tocopherol (γ -TML) เป็น enzyme หนึ่งในขั้นสุดท้ายของการสังเคราะห์ เนื่องจากภาวการณ์ขาดแคลน Vitamin E ในผู้สูงอายุของเมืองไทยมีปริมาณค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีมากถึงร้อยละ 89 ข้าพเจ้าจึงทำการสำรวจหาความสามารถในการสังเคราะห์ Vitamin E ของไม้ผลเมืองไทย โดยอาศัยวิธีทางวิศวกรรมผ่านการตรวจหายีน γ -TML ซึ่งไม้ผลเมืองไทยที่ทำการสำรวจ ได้แก่ มะขาม มะม่วง มะกอกน้ำ เงาะ และ ฝรั่ง ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกมากในประเทศไทยเพื่อการค้าและการบริโภค จากการทดลองพบว่าฝรั่งเป็นไม้ผลชนิดเดียวที่ไม่ปรากฏว่ามียีนนี้อยู่ จึงเป็นไปได้ว่าฝรั่งไม่มีการสังเคราะห์ α -tocopherol และเมื่อทำการหาลำดับ nucleotide ของไม้ผลอื่นๆที่ทำการสำรวจพบว่ามีความยาวของลำดับ nucleotide มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงว่าต้องมีส่วนของ intron แทรกอยู่ในระหว่างยีนนี้อย่างแน่นอน จากลำดับ nucleotide เหล่านี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบหาร้อยละความคล้ายคลึงกับ cDNA ของถั่วเหลืองที่เป็นพืชหนึ่งในหกชนิดที่ใช้ในการออกแบบ primer พบว่ามีคล้ายคลึงเฉลี่ยถึงร้อยละ 78.1 ยกเว้นในมะม่วง ซึ่งมีความแตกต่างจากไม้ผลชนิดอื่นๆมากที่สุดเพราะมีความคล้ายคลึงเพียงร้อยละ 37.4 และหลังจากการนำลำดับ nucleotide มาเปรียบเทียบระหว่างไม้ผลแต่ละชนิดสังเกตได้ว่ามะม่วงมีความคล้ายคลึงกับไม้ผลอื่นๆ น้อยมากเช่นกัน แต่ในเงาะหนึ่งในสองยีนที่ปรากฏนั้นมีลำดับ nucleotide ที่คล้ายคลึงกับของมะขามถึงร้อยละ 99.9 และด้วยผลจากการทำ Phylogenetic tree มีความเป็นไปได้ว่าการพัฒนาทางพันธุกรรมของมะขามและเงาะหนึ่งในสองยีนนั้นมีการพัฒนาไปพร้อมๆกัน และแยกออกมาก่อนไม้ผลอื่นๆ จากนั้นจึงตามด้วย มะม่วง ถั่วเหลือง เงาะ และมะกอกน้ำ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้จะสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยข้อมูลทางด้านสารอาหาร แต่ด้วยการศึกษาทางด้านปริมาณการสะสมของ Vitamin E ในไม้ผลที่ทำการทดลองยังมีค่อนข้างน้อย จึงสรุปได้เพียงว่ามะม่วง มะขาม มะกอกน้ำ และเงาะมีความสามารถในการสังเคราะห์α -tocopherol ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่น้อยไปกว่า Lipid. Protein และ Carbohydrate แต่อย่างใด
-
5141 Serching for the ³ -tocopherolMethyltransferase production gene in Thai frit plants /index.php/project-biology/item/5141-serching-for-the-947-tocopherolmethyltransferase-production-gene-in-thai-frit-plantsเพิ่มในรายการโปรด