การศึกษาโครงสร้างของตัวเร่งเชิงแสงซีเรียม/ไทเทเนียมออกไซด์ โดยใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์
ทำการเตรียมตัวเร่งเชิงแสงซีเรียม/ไทเทเนียมออกไซด์โดยใช้เทคนิคโซล-เจล ที่ปริมาณซีเรียม 8 และ 30 เปอร์เซนต์โดยน้ำหนักในไทเทเนียมออกไซด์ ทำการศึกษาคุณสมบัติของตัวเร่งโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction : XRD) และเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (Extended X-ray Absorption Fine Structure : EXAFS) โดยใช้ FEFF7 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดลองที่ได้จาก XRD พบว่า ไทเทเนียมออกไซด์ที่เตรียมได้มีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นอะนาเทส และผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ EXAFS พบว่า ไทเทเนียมออกไซด์ที่มีปริมาณซีเรียมน้อย (8%) จะเกิดความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างแบบ interstitial defect และไทเทเนียมออกไซด์ที่มีปริมาณซีเรียมมาก (30%) จะเกิดความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างแบบ substitutional defect โดยมีบางส่วนเป็นแบบ interstitial defect ในโครงสร้างไทเทเนียมออกไซด์ (อะนาเทส)
-
5488 การศึกษาโครงสร้างของตัวเร่งเชิงแสงซีเรียม/ไทเทเนียมออกไซด์ โดยใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ /index.php/project-biology/item/5488-2016-09-09-03-38-56-5488เพิ่มในรายการโปรด