การศึกษาหาสาเหตุและแนวทางในการลดค่าของกรดในน้ำมันงาที่ผลิตโดยวิธีการอีดงา
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาหาสาเหตุและแนวทางในการลดค่าของกรดในน้ำมันงาที่ผลิตโดยวิธีการอีดงา เป็นโครงงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่จัดทำขึ้น เพื่อ 1. ศึกษาผลของโคลิฟอร์มที่ปนเปื้อนในเมล็ดงาและน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตว่ามีผลต่อค่าของกรดในน้ำมันงาที่ผลิตได้หรือไม่ อย่างไร 2. ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดค่าของกรดในน้ำมันงาโดยการล้างด้วยน้ำ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 ผลของระดับการปนเปื้อนโคลิฟอร์มในเมล็ดงาและน้ำที่ใช้ในการผลิต ต่อค่าของกรดในน้ำมันงา ตอนที่ 2 แนวทางการลดค่าของกรดในน้ำมันงาโดยการล้างด้วยน้ำ จากการศึกษาพบว่า ระดับการปนเปื้อนโคลิฟอร์มในเมล็ดงา มีอิทธิพล ต่อค่าของกรดในน้ำมันงา โดยน้ำมันงาที่ได้จากเมล็ดงา ในการทดลองชุด A 1 มีค่าของกรดในน้ำมันงา ต่ำสุด เนื่องจากเมล็ดงาที่ตากแดดเป็นเวลา 5 ชั่วโมงที่ ระดับโคลิฟอร์ม C ไม่มีตะกอนดำ (ปราศจาก โคลิฟอร์ม) ทำให้มีค่าของกรดในน้ำมันงาต่ำสุด น้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำมันงาที่นำไปต้มที่อุณหภูมิ ระดับโคลิฟอร์ม C ไม่มีตะกอนดำ (ปราศจาก โคลิฟอร์ม) ทำให้มีค่าของกรดต่ำสุด และเมื่อนำน้ำมันงาไปล้างด้วยน้ำในทุกชุดการทดลองมาผ่านการตรวจสอบค่าของกรด พบว่า ค่าของกรดของน้ำมันงา ลดลงในทุกชุดการทดลอง
-
6590 การศึกษาหาสาเหตุและแนวทางในการลดค่าของกรดในน้ำมันงาที่ผลิตโดยวิธีการอีดงา /index.php/project-biology/item/6590-2016-09-09-03-51-47-6590เพิ่มในรายการโปรด