Anti-inflammatory activity of extract from Caesalpinia mimosoides Lamk.
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการปรุงอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือที่ใช้หน่อไม้เป็นส่วนประกอบ มักรับประทานผักหนามปู่ย่าเป็นผักแนมน้ำพริกด้วยเสมอ และจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับหน่อไม้ พบว่า หน่อไม้นั้นมีกรดยูริก (uricacid) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบ และอาการปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นผักหนามปู่ย่านี้ จึงน่าจะมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ผู้คนในภาคเหนือจึงนำผักหนามปู่ย่ามารับประทานกับหน่อไม้เพื่อเป็นการป้อกัน นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีงานวิจัยใดเกี่ยวกับการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของผักหนามปู่ย่าเลยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นจึงได้สนใจที่จะทำการทดสอบคุณสมบัติดั่งกล่าว ตอนที่ 1 แบบจำลอง EPP-induced ear edema ในหนูขาว เป็นแบบจำลองการอักเสบเฉียบพันที่ใช้สำหรับการทดสอบสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของการรั่วไหลของเหลวจากหลอมเลือด (vascular permeability) ซึ่งในการทดลองจะใช้สาร EPP เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการบวมของหนู โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มควบคุม ได้รับ สารทำละลาย 2. กลุ่มยามาตรฐาน คือ Phenylbutazone 3. กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากผักหนามปู่ย่า วัดความหนาของหูหนูก่อนทดลอง จากนั้นทาสารทดสอบบนใบหูหนูทั้งด้านในและด้านนอก ตามด้วย EPP ทันทีเพื่อชักนำให้เกิดการบวมขึ้น วัดความหนาของใบหูหนูที่เวลา 15, 30, 60 และ 120 นาที คำนวณหาเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการบวมของใบหูหนูที่เวลาต่าง ๆ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากผักหนามปู่ย่ามีฤทธิ์ลดการบวมของหูหนูได้ดีพอ ๆ กับยามาตรฐาน ตอนที่ 2 Carragenine-induced hind paw edema ในหนูขาว เป็นแบบจำลองการอักเสบเฉียบพลันที่ใช้สำหรับทดสอบสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่มีสาเหตุมาจาก Arachidonic acid metabolism ผ่าน Cyclopoxygenase pathway โดย Carragenine เป็นตัวทำให้เกิดการบวมของอุ้งเท้าหนู แบ่งการทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มควบคุม ได้รับน้ำ 2. กลุ่มยามาตรฐาน ได้รับ lndomethacin 3. กลุ่มทดสอบ ได้รับสารสกัดจากผักหนามปู่ย่า วัดปริมาณอุ้งเท้าหนูด้านขาวด้วยเครื่อง Plethysmometer ให้ยาและสารทดลองตามกลุ่มจากนั้นฉีด Carragenine เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมของอุ้งเท้า วัดปริมาตรอุ้งเท้าด้วย Plethysommeter ที่เวลา 1 , 3 และ 5 ชั่วโมง คำนวณหาเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนู ที่เวลาต่าง ๆ ผลการทดลองคือ สารสกัดจากผักหนามปู่ย่ามีฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ปานกลางเมื่อเทียบกับยามาตรฐาน ตอนที่ 3 Arachidon acid-induced hind paw edema ในหนูขาว เป็นแบบจำลองการอักเสบเฉียบพลันที่ใช้สำหรับทดลองสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่มีสาเหตุมาจาก Arachidonic acid metabolism ผ่าน Lipoxygenase pathway ซึ่งจะใช้ Arachidonic acid เป็นตัวทำให้เกิดการบวมของอุ้งเท้าหนูโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มควบคุม ได้รับน้ำ 2. กลุ่มยามาตรฐาน ได้รับ Phenidone ขนาด 3. กลุ่มยามาตรฐาน lndomethacin 4. กลุ่มทดสอบ ได้รับสารสกัดจากผักหนามปู่ย่า ทำการทดลองโดยวัดอุ้งเท้าหนูด้านขาวด้วยเครื่อง Plethysommeter ให้ยาและสารทดสอบตามกลุ่ม จากนั้นฉีด Arachidonic acid เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมของอุ้มเท้า วัดปริมาตรของอุ้งเท้าด้วย Plethysmometer ที่เวาล 1 ชั่วโมง คำนวณหาเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการบวมของอุ้มเท้าหนู ที่เวลาต่าง ๆ ผลการทดลอง คือ สารสกัดจากผักนามปู่ย่ามีฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูน้อยมากเมื่อเทียบกับยามมาตรฐาน
-
4856 Anti-inflammatory activity of extract from Caesalpinia mimosoides Lamk. /index.php/project-mathematics/item/4856-anti-inflammatory-activity-of-extract-from-caesalpinia-mimosoides-lamkเพิ่มในรายการโปรด