การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทางเกษตรในการผลิตเซลลูเลสและไซแลนเนสจากเชื้อรา Utilization of Ageicultural Wastes for Fungi.
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทางเกษตรในการผลิตเซลลูเลสและไซแลนเนสจากเชื้อรา” ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัดุเหลือทางการเกษตรมาทำเป็นอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเพื่อการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและไซแลนเนส โดยทำการแยกเชื้อราจากดินตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณที่มีการปลูกลำไยและกระทียม นำมาทดสอบการสร้าง celluase และ xylanase บนอาหารวุ้น (agar) ที่มีส่วนประกอบของ CMC และ xylan สามารถคัดเลือกเชื้อราที่สามารถสร้างวงใส่ได้ 5 ไอโซเลต คือ L4 , L5 , G2 , G2.5 และ G5 จากนั้นนำมาทดสอบเลี้ยงบนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น ได้แก่ เปลือกลำไย เปลือกกระเทียม และเปลือกเมล็ดฟักทองแล้วสังเกตการณ์เจริญและวัดค่าของกิจกรรมของเอนไซม์จาก 5 ไอโซเลตเทียบกับเรา Thermoascus auarntiacus SL 16W จากห้องปฏิบัติการ ที่เลี้ยงบนอาหารชนิดเดียวกัน พบว่าเปลือกลำไยเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อรามากที่สุด ในขณะที่ Thermoascus auarntiacus SL 16W ที่เลี้ยงบนอาหารเปลือกลำไยก็ยังสามารถผลิตเอนไซม์ได้มากที่สุด โดยผลิต celllase ได้ 7.35 unit/g-subsstrate และ xylanase 128.67 unit/g-subsstrate นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ปนกับเปลือกลำไยมีผลทำให้เชื้อราผลิตเอนไซม์ได้น้อยลง จากการศึกษาคัดเลือกสูตรในสูตรอาหารที่เหมาะสมกับการเจริญและผลิตเอนไซม์เชื้อรา โดยเฉพาะเอนไซม์เชื้อรา Thermoascus auarntiacus SL 16W กับปรากฏว่าสูตรอาหารที่ประกอบด้วย เปลือกลำไย : รำข้าวสาลี : เปลือกข้าวโพด ในอัตราส่วน 4 : 1 : 0 สามารถผลิตเอนไซม์ cellulose และ xylanase ได้สูงสุดคือ 53.30 unit/g-subsstrate และ 158.40 unit/g-subsstrate ตามลำดับ เมื่อศึกษาผลของเวลาในการเพาะเลี้ยงต่อการผลิตเอนไซม์ ก็พบว่าใช้เชื้อรา Thermoascus auarntiacus SL 16W ที่เลี้ยงในอาหารสูตรดังกล่าวสมารถผลิตเอนไซม์ทั้งสองได้สูงสุดในวันที่ 5
-
4917 การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทางเกษตรในการผลิตเซลลูเลสและไซแลนเนสจากเชื้อรา Utilization of Ageicultural Wastes for Fungi. /index.php/project-mathematics/item/4917-utilization-of-ageicultural-wastes-for-fungiเพิ่มในรายการโปรด