การผลิตแก๊สชีวภาพโดยใช้อาหารต่างกัน
โครงงานนี้เป็นการศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพโดยใช้อาหารที่ต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบปริมาณแก๊สชีวภาพและประสิทธิภาพในการบำบัดของเสียในอาหารแต่ละชนิด อาหารที่ใช้มี 3 ชนิด คือ เศษอาหารจากโรงอาหาร มูลสุกร และมูลไก่ โครงงานนี้ศึกษาการย่อยสลายอาหารของอาหารที่มีปริมาณของแข็ง 4% (g/l) ในถังหมัก 2 แบบ คือ ถังหมักไร้อากาศแบบสองเฟสชนิดอัตราการกำจัดต่ำ (ไม่มีการกวน) ขนาดความจุถังกรด 1.22 ลิตร และถังแก๊ส 4.30 ลิตร และถังหมักไร้อากาศแบบธรรมดาชนิดอัตรากำจัดสูงปริมาตรความจุ 13.04 ลิตร ปริมาตรการหมัก 9.63 ลิตร โดยมีระยะเวลาการกักเก็บ (HRT) 30 วัน ปัจจัยที่สำคัญคือค่า COD pH และปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้น จากผลการศึกษาพบว่า ในถังหมักไร้อากาศแบบสองเฟสชนิดอัตราการกำจัดต่ำมีประสิทธิภาพในการกำจัดอินทรียสารต่ำในทุกชนิดของอาหาร และปริมาณแก๊สในถังที่เติมด้วยมูลสุกรเกิดขึ้นน้อยมากในขณะที่อีกสองถังไม่สามารถวัดปริมาณแก๊สได้ ค่า pH ของทั้งสองถังลดลง และจากการสังเกตพบว่าถังหมักทั้งสามไม่เป็นถังหมักไร้อากาศแบบสองเฟส เนื่องจากมีการไหลถึงกันของของเหลวในถังกรดและถังแก๊ส จึงไม่สามารถเก็บผลทดลองด้จนหมดระยะเวลากักเก็บ ส่วนผลการทดลองในถังหมักไร้อากาศแบบธรรมดาชนิดอัตราการกำจัดสูงยังอยู่ระหว่างการทดลอง
-
4961 การผลิตแก๊สชีวภาพโดยใช้อาหารต่างกัน /index.php/project-mathematics/item/4961-2016-09-09-03-25-12_4961เพิ่มในรายการโปรด