การพัฒนาระบบการนำส่งยีนโดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สู่ ใบยาสูบ (Nicotiana tobaccum) และผำน้ำ (Wolffia globosa)
วิธีการที่ใช้สำหรับนำส่งยีนสู่พืช โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens ในการช่วยถ่ายยีน ซึ่งในการใช้ agrobacterium ก็มีข้อจำกัดคือ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนพืชเจ้าบ้านจะต้องทำการทดสอบหาระบบที่เหมาะสมในการนำส่งยีน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการนำส่งยีนเพื่อเป็นระบบมาตรฐานในการนำส่งยีนเข้าสู่พืชเจ้าบ้านต้นแบบคือ ผำน้ำ (Wolffia globosa) และ ยาสูบ (Nicotiana tobaccum) โดยขั้นต้นทำการหาความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะเพื่อเป็น Selectable marker โดยพบว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ Kanamycin ที่ 40 mg/l และ 10 mg/l hygromycin ที่40 mg/l และ 7.5 mg/l สำหรับ tobacco และผำตามลำดับ และความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะ Cefataxime ที่ใช้ในการทำลาย คือ 300 และ 250 mg/l สำหรับ tobacco และผำตามลำดับ จากนั้นผู้วิจัยได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสายพันธุ์ของ agrobacterium คือ LBA4404, EHA105, C58PMP90, และ GV2260 โดยผลการทดลองจะทำการอภิปรายภายหลัง
-
5419 การพัฒนาระบบการนำส่งยีนโดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สู่ ใบยาสูบ (Nicotiana tobaccum) และผำน้ำ (Wolffia globosa) /index.php/project-mathematics/item/5419-agrobacterium-tumefaciens-nicotiana-tobaccum-wolffia-globosa-5419เพิ่มในรายการโปรด