เปรียบเทียบสารสกัดจากใบสับปะรดกับ 17β - estradiol ที่มีผลต่อการเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูง
การสกัดและการแยกสารสกัดสเตอรอยด์ซาโปนินจากใบสับปะรด (Ananas comosus (L.) Merr)นำน้ำยาสกัดเมทานอลมาทำสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟฟีด้วยระบบตัวทำละลายPetroleum ether : Chloroform(9:1, 4:1, 2:1, 1:1, 0:1) และ Cloroform : Methanol(98:02, 95:05, 90:10) พบว่าแฟรคชั่นที่ชะด้วยคลอโรฟอร์ม และคลอโรฟอร์ม : เมทานอล(98:02, 95:05) เมื่อทำ TLC ด้วยระบบเบนซีน : เอทิลอะซีเตด (8:2,v/v)เมื่อสเปรย์ด้วย vanillin-sulfuric acid ปรากฏสีน้ำเงินอมม่วงพบว่ามีค่าRf เท่ากับ0.49 นำสารสกัดเหล่านี้มารวมกันแล้วนำไปทดสอบกับปลาหางนกยูง ทำการเปรียบเทียบผลของสารสกัดกับฮอร์โมน 17β-estradiol โดยผสมกับอาหารที่ความเข้มข้น 0(ควบคุม), 25, 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่ละความเข้มข้นให้ปลากินเป็นระยะเวลา 30 วัน พบว่าชุดควบคุมมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย (23:92)ตัว สารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 25, 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมมีสัดส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย (20:84, 21:80, 23:83, 26:90) และฮอร์โมน17β-estradiol ที่ระดับความเข้มข้น 25, 50, 100 และ200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมมีสัดส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย (0:98, 0:100, 0:103, 0:96)ตามลำดับ
-
5924 เปรียบเทียบสารสกัดจากใบสับปะรดกับ 17β - estradiol ที่มีผลต่อการเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูง /index.php/project-mathematics/item/5924-17-estradiolเพิ่มในรายการโปรด