ฤทธิ์ต้านเซลล์เชื้อสายมะเร็งเต้านม MCF-7 ของ Hedyotis diffusa และ Hedyotis corymbosa
Hedyotis diffusa Willd. เป็นสมุนไพรที่ใช้ในเภสัชเวชจีนมาหลายทศวรรษ และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการรักษามะเร็งหลายชนิด แพทย์แผนจีนได้นำเข้าสมุนไพรชนิดนี้มาในประเทศไทย แต่พบปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าและคุณภาพตามฤดูกาลของสมุนไพร มีสมุนไพรที่อยู่ใน Genus เดียวกันในประเทศไทย คือ Hedyotis corymbosa Lamk. ซึ่ง สรรพคุณโดยรวมคล้ายกัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสมุนไพรสองชนิดนี้นำสมุนไพรมาสกัดด้วยวิธีมาตรฐานโดยใช้ตัวทำละลายสองชนิด คือ dichloromethane และ methanol เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบการออกฤทธิ์ต่อเซลล์เชื้อสายมะเร็งเต้านมของคน (MCF-7) ที่ระยะเวลา 24 และ 72 ชั่วโมง และประเมินค่าความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ (effective concentration, EC) โดยวิธี sulforhodamine B (SRB) assay พบว่าการออกฤทธิ์ของ H.diffusa ดีกว่า อย่างไรก็ตามมีผลการทดสอบที่ชัดเจนแสดงให้เห็นว่า ความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดทั้งหมดมีค่าต่ำมากในทุกช่วงเวลา หลังจากทดสอบเซลล์ด้วยสารสกัดจากชั้น dichloromethane พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของเซลล์ ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และทำให้เซลล์ตายแบบ necrosis ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของพืชทั้งสองชนิดโดย thin ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: Hedyotis diffusa Willd. has been used for decades in Chinese pharmacognosy as the important composition in almost all kind of anticancer remedies. This herb is imported into Thailand by the Chinese medicinal practitioner with the problems of importation and seasonal qualities. There is another species in the same Genus, Hedyotis corymbosa Lamk., found in Thailand with similar properties. This research was aimed to study the anticancer activity of these two herbs in comparison. The plant materials were extracted by standard method using the two solvents, dichloromethane and methanol. The human breast cancer cell line, MCF-7, was exposed to the extracts at 24 and 72 hours. The effective concentration (EC) was evaluated by the Sulforhodamine B (SRB) assay. The better activity was exhibited by H. diffusa. However, the clear evidences were detected with indication of very low cytotoxicity of the two plant extracts to the cell at all time. Changes of cell morphology, decrease mitotic index and the cell necrosis were observed on the cells exposed to the dichloromethane extracts. The chemical components of the two species were studied by Thin Layer Chromatography (TLC) and found with similar patterns of fragments. layer chromatography (TLC) พบว่าสารที่แยกออกมาได้มีรูปแบบที่คล้ายกัน
-
6012 ฤทธิ์ต้านเซลล์เชื้อสายมะเร็งเต้านม MCF-7 ของ Hedyotis diffusa และ Hedyotis corymbosa /index.php/project-mathematics/item/6012-mcf-7-hedyotis-diffusa-hedyotis-corymbosaเพิ่มในรายการโปรด