การศึกษาการฟอกสีคริสตัลไวโอเลตโดยไทเทเนียมไดออกไซด์อสัณฐาน
ไทเทเนียมไดออกไซด์อสัณฐานที่ใช้การศึกษานี้ ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างไทเทเนียม เตตระคลอไรด์กับสารละลายแอมโมเนียเจือจางที่อุณหภูมิต่ำ จากนั้นศึกษาด้วยเทคนิค XRD, SEM, BET, FT-IRและ DRS พบว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ที่สังเคราะห์ได้ มีพื้นที่ผิว (BET) ค่อนข้างมาก คือ 449 ตาราง-เมตรต่อกรัม นำมาศึกษาความสามารถในการฟอกสีคริสตัลไวโอเลตพบว่า สามารถฟอกสีได้ดีกว่า Degussa P25 ซึ่งเป็นไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีการผลิตในเชิงการค้าและนำไปใช้เป็นโฟโตคะตะลิสต์กันอย่างแพร่หลาย ------------------------------------------------------------------------------------------------ Amorphous titanium dioxide was prepared from the reaction between titanium tetrachloride and diluted ammonia solution at low temperature. The oxide thus obtained was characterized by XRD, SEM, BET, FT-IR, and DRS techniques. It exhibits high BET surface area at 449 m2 /g. The decolorization of crystal violet solution was tested by this oxide and compared with Degussa P25 which is the prevailing titanium dioxide photocatalyst and commercially available. The result showed that amorphous titanium dioxide could decolorize crystal violet solution better than Degussa P25.
-
6261 การศึกษาการฟอกสีคริสตัลไวโอเลตโดยไทเทเนียมไดออกไซด์อสัณฐาน /index.php/project-mathematics/item/6261-2016-09-09-03-48-51-6261เพิ่มในรายการโปรด