การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับโครเมียม(ІІІ)และฟีนอลด้วยถ่านกัมมันต์จากถ่านไผ่รวกที่กระตุ้นด้วย กรดไนตริก
ชื่อผู้ทำโครงงาน
จิตราภรณ์ จันทศร
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน
สถาบันการศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ได้รับ
-
ระดับชั้น
ปริญญาตรี
หมวดวิชา
เคมี
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
การทดลองนี้เป็นการศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากไผ่รวก (Thyrsostachys Siamensis Gamble)โดยการนำไผ่รวกไปทำการคาร์บอไนเซชันที่ 450 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงนำมาบดและคัดขนาดไห้ได้ไม่ต่ำกว่า 150 ไมครอน แล้วนำไปกระตุ้นด้วยกรดไนตริกเข้มข้น เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของถ่านไม่ไผ่ทั้งก่อนและหลังกระตุ้นด้วย เทคนิค Fourier transform Infrared Spectrometry (FTIR) และลักษณะพื้นผิวด้วย Scanning electron microscope (SEM) นำถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ไปศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียม โดยจะศึกษาถึง ปริมาณของถ่านที่ใช้ pH และเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาค่าการดูดกลืนฟีนอล และไอโซเทอมการดูดกลืน โดยเปรียบเทียบค่าที่ได้กับ ถ่านไผ่รวกที่ยังไม่ได้กระตุ้น
คำสำคัญ
การดูดซับโครเมียม,ฟีนอล,ถ่านกัมมันต์,ถ่านไผ่,กรดไนตริก
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
จิตราภรณ์ จันทศร
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
6262 การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับโครเมียม(ІІІ)และฟีนอลด้วยถ่านกัมมันต์จากถ่านไผ่รวกที่กระตุ้นด้วย กรดไนตริก /index.php/project-mathematics/item/6262-2016-09-09-03-48-53-6262เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (71747)
ให้คะแนน
ในปัจจุบันนี้โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อสื่อสารของผู้คนทั่วไป ...
Hits (73055)
ให้คะแนน
ในโลกของเรานี้ มีสารเคมีที่มนุษย์เราผลิตขึ้นประมาณ 600,00 ชนิด ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ...
Hits (75135)
ให้คะแนน
ไข่มุกเป็นอัญมณีที่มีความสวยงามในตัวเองคือมีความวาวแบบมุก (Pearly Luster) และมีการเหลือบสีรุ้ง ...