การใช้เปลือกเม็ดมะขามป้องกันการหืนของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวที่เก็บ ณ อุณหภูมิปกติจะเกิดกลิ่นเหม็นหืน (oxidizing flavor) จากปฏิกิริยาออกซิเดชันซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้มีคุณภาพต่ำและสูญเสียทางเศรษฐกิจ การใช้สารเคมีสังเคราะห์หลายชนิดป้องกันออกซิเดชันแต่มีราคาแพงและเป็นอันตรายหากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จึงไม่เหมาะสมกับการผลิตน้ำมันมะพร้าวในครัวเรือน พืชหลายชนิดมีสารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ถ้านำมาใช้กับน้ำมันมะพร้าวแล้วน่าจะมีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารเคมี ได้ทดลองป้องกันออกซิเดชันของน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตในครัวเรือนด้วยการสกัดจากเปลือกเม็ดพืชท้องถิ่นในวงศ์ราชพฤกษ์ (Caesalpiniaceae) จำนวน 7 ชนิด คือ มะขาม (Tamaridus indica L.) หางนกยูงไทย (Caesalpinia pulcherrima L.) หางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia L.) คูน (Cassia fistula L.) ขี้เหล็ก (C. siamea Lamk.) ชุมเห็ด (C. occidentalis L.) และนนทรี (Peltophorum pterocarpum DC.) ศึกษาชนิดและปริมาณของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดพืช ใช้น้ำผสมเอทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 50:50 เป็นตัวทละลาย ประเมินการเกิดออกซิเดชันด้วยการวัดค่าพีเอชและค่าเปอร์ออกไซด์ด้วยวิธี Iodometric titration (AOAC, 1971) ผลการทดลองพบว่าน้ำมันมะพร้าวใส่สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามเกิดออกซิเดชันน้อยที่สุด รองลงมาคือ คูน และนนทรีตามลำดับ และน้ำมันมะพร้าวใส่สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามในปริมาณน้อยที่สุดเท่ากับ 0.03% หลังจากเก็บ ณ อุณหภูมิปกติเป็นเวลา 25 วัน มีค่าพีเอชลดลงน้อยและค่าเปอร์ออกไซด์ไม่เกิน 10 meq oxygen/kg oil ตามมาตรฐานของ FAO/WHO (Codex) จากการทดลองสรุปได้ว่าชนิดและปริมาณของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดพืชวงศ์ราชพฤกษ์ มีผลต่อการป้องกันออกซิเดชันของน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตในครัวเรือนแตกต่างกัน โดยสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามป้องกันออกซิเดชันของน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตในครัวเรือนแตกต่างกัน โดยสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามป้องกันออกซิเดชันของน้ำมันมะพร้าวได้ดีที่สุด
-
6572 การใช้เปลือกเม็ดมะขามป้องกันการหืนของน้ำมันมะพร้าว /index.php/project-mathematics/item/6572-2016-09-09-03-51-43-6572เพิ่มในรายการโปรด