การศึกษาสมบัติทางกายภาพของกระดาษสาสำหรับระบบทำความเย็นแบบระเหย
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของกระดาษสาตามมาตรฐาน ISO เพื่อจัดทำมาตรฐานกระดาษสาของพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการออกแบบ CelPad สำหรับระบบทำความเย็นแบบระเหยต่อไป โดยทำการศึกษา ความสามารถในการดูดซึมน้ำ ค่าความต้านแรงดึงขาดน้ำหนักมาตรฐาน ค่าความหนาและค่าความหนาแน่นของ กระดาษสา โดยใช้กระดาษสาจาก 3แหล่ง คือ บ.เหลือง อ.เวียงสา จ.น่าน(A),บ.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน(B)และ บ.แยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก(C) พบว่า ค่าความต้านแรงดึงขณะแห้งสูงสุดมีค่าเท่ากับ 16.811 kN/m ค่าความต้านแรงดึงขณะเปียกสูงสุดมีค่า่เท่ากับ 1.089 kN/m ค่าความสามารถในการดูดซึมน้ำสูงสุดเท่ากับ 3.4537 กรัม (475.21%)ดังนั้นกระดาษสาจึงมีสมบัติที่เหมาะสมสามารถนำมาผลิตเป็นม่านน้ำได้ ------------------------------------------------------------- This project studied physical properties of mulbury paper that’s method according to ISO for Thailand’s north mulbury paper standardised and it is data base for celpad design in evaporative cooling. We studied water absorptiveness, tensile strength, basis weight (gramage), thickness and density. The mulbury papers were form Naloaeng Wiangsa Nan(A),Sanian Moaeng Nan(B) and Yang Nachornthai Pitsanuloke(C). The result reported that tensile strength 16.811 kN/m, tensile strength after immersion in water 1.089 kN/m, water absoeptiveness 3.4537g (475.21%). So, mulbury paper had physical properties appropriate for cooling pad produce.
-
6419 การศึกษาสมบัติทางกายภาพของกระดาษสาสำหรับระบบทำความเย็นแบบระเหย /index.php/project-other/item/6419-2016-09-09-03-49-39-6419เพิ่มในรายการโปรด