การศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ และประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย Monitoring of Microorganisms in EM and Their Efficiency in Waste Water Treatment
จากการทดลองผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยใช้วัตถุดิบเริ่มต้นในการหมักดังนี้คือ เศษอาหาร 70% เศษกระดูกหมูที่เหลือจากการต้มสกัดน้ำซุป 10% เปลือกผลไม้ผสม 20% โดยแปรผันกากน้ำตาล 2 ความเข้มข้นคือ 15 และ 25 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมเศษอาหาร พบว่าเมื่อหมักได้ 10 วัน จะได้ของเหลวข้น สีน้ำตาลอมแดง มีกลิ่นเปรี้ยวคล้ายแหนม เมื่อหมักต่อไปจนถึง 20 วัน น้ำหมักชีวภาพจะมีลักษณะใสขึ้น มีกลิ่นเช่นเดิม แต่สีออกน้ำตาลเข้มมากขึ้น และเมื่อหมักต่อไปอีกจนครบ 30 วัน พบว่าน้ำหมักที่ได้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับเมื่อหมักได้ 20 วัน สำหรับ pH ของน้ำหมักเมื่อใช้กากน้ำตาลความเข้มข้นต่างกัน พบว่าเมื่อหมักครบ 10 วัน จะมี pH 3 เหมือนกัน แต่เมื่อหมักนานกว่า 10 วัน EM25 จะมี pH สูงขึ้นมากกว่า EM15 การศึกษาชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ โดยเลี้ยงเชื้อในอาหารต่างๆกัน พบว่าเมื่อเลี้ยงในอาหาร MRS + ในสภาวะที่ไม่มีอากาศ จะพบแบคทีเรียที่สร้างกรดได้ (สังเกตจากบริเวณใสรอบโคโลนี ซึ่งเกิดจากกรดทำให้ ละลาย) CFU/ml และพบยีสต์ CFU/ml โดยพบว่าจำนวนจุลินทรีย์ใน EM25 มีมากกว่า EM15 และพบจำนวนจุลินทรีย์มากที่สุดในช่วง 10 วันแรกของการหมัก หลักจากนั้นจำนวนของ จุลินทรีย์จะค่อยๆ ลดลง เมื่อเลี้ยงในอาหาร GEAM และ PDA พบว่าชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ที่มีปริมาณแตกต่างจากอาหาร MRS เนื่องจากใช้อาหารและบ่มเชื้อในสภาวะที่แตกต่างกัน โดยในอาหาร GEAM และ PDA จะบ่มเชื้อในสภาวะมีอากาศ และการทดลองประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของน้ำหมักชีวภาพ พบว่าน้ำหมักชีวภาพทั้ง EM15 และ EM25 สามารถบำบัดน้ำเสียได้ดีกว่าชุดควบคุมซึ่งไม่มีการเติม EM
-
5091 การศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ และประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย Monitoring of Microorganisms in EM and Their Efficiency in Waste Water Treatment /index.php/project/item/5091-monitoring-of-microorganisms-in-em-and-their-efficiency-in-waste-water-treatmentเพิ่มในรายการโปรด