การศึกษาสมบัติของเบ้าหล่อทองเหลืองแบบดิน กรณีศึกษาชุมชน บ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติของเบ้าหล่อทองเหลืองแบบดินของ ชุมชนบ้านปะอาว ซึ่งมีการผลิตเครื่องทองเหลืองโดยใช้กรรมวิธีผลิตแบบดั้งเดิมสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษกว่า 200 ปีมาแล้วและศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของเบ้าหลอมแต่ละชนิดที่ทำขึ้น เพื่อหาอัตราส่วนระหว่างแกลบและดินที่เหมาะสมในการทำเบ้าหล่อทองเหลืองและเบ้าโอบดิน อันจะช่วยลดความสูญเสีย เนื่องจากขั้นตอนการผลิตจากการทดลองได้ศึกษาปริมาณแกลบที่ 10 g 30 g 50 g และ 70 g ปริมาณของดินมีค่าคงที่ที่ 1000 g เมื่ออัตราส่วนระหว่างแกลบและดินเพิ่มมากขึ้น เปอร์เซ็นต์การหดตัวหลังเผาและสภาพนำความร้อนจะมีค่าเพิ่มขึ้นด้วยแต่ค่าความต้านทานแรงอัดจะมีค่าลดลง ผลการวิจัยพบว่า เปอร์เซ็นต์การหดตัวหลังการเผามีค่าตั้งแต่ 1.02% ถึง 3.90%ค่าความต้านทานแรงอัดที่ทดสอบด้วยเครื่องCompression Test มีค่าตั้งแต่ 0.353 N ถึง 3.680 N และจากการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการทำเบ้าหล่อทองเหลืองแบบดินคือ 30 g:1000 g ------------------------------------------------------------- The purposes of this study were to property of the soil crucible in brass casting from Ban Paao,Ubonratchathani. To fine the best ratio of rice husk and clay mixing and decrease the produced are lost. In the experiment, the mount of rice husk of 10 g 30 g 50 g and 70g were added and mixed with clay at constant weight of 1000 g. The research findings were to the percentage of contraction after burning 1.02–3.90%, the compressive strength 0.353–3.86 N. The ratio rice husk : clay were increase the percentage of contraction after burning and the thermal conductivity were increase too, but the compressive strength was decrease. The best ratio was 30 g:1000 g.
-
6427 การศึกษาสมบัติของเบ้าหล่อทองเหลืองแบบดิน กรณีศึกษาชุมชน บ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี /index.php/project/item/6427-2016-09-09-03-49-43-6427เพิ่มในรายการโปรด