|
ปีที่ 9 | ฉบับที่ 21 | วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
|
|
|
|
|
|
|
|
อากาศหนาวกำลังมาเยือน รักษาสุขภาพ อ่าน SciInfoNet NEWS อยู่กับบ้าน และพบกับบทความเต็มได้ที่ห้องสมุด สสวท. ในเวลาราชการ หากท่านเห็นว่า SciInfoNet NEWS จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ขอท่านส่งต่อ และ/หรือ แนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มใบสมัคร ซึ่งสามารถ download ได้ที่ Memberships แล้วส่งกลับมายัง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และเช่นเคย หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ โปรดส่งมายังโครงการ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป |
|
|
|
|
|
เคหการเกษตร |
เทคนิค |
สารคดี |
Computer Today |
Creative & Idea Kaizen |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ปีที่ 36, ฉบับที่ 9 กันยายน 2555 |
ปีที่ 29, ฉบับที่ 342 กันยายน 2555 |
ปีที่ 28, ฉบับที่ 330 สิงหาคม 2555 |
ปีที่ 22, ฉบับที่ 436 ปักษ์แรก กันยายน 2555 |
ปีที่ 6, ฉบับที่ 72 กันยายน 2555 |
|
|
Eworld |
Micro Computer |
for Quality |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ฉบับที่ 2012-08 สิงหาคม 2555 |
ปีที่ 30, ฉบับที่ 326 กันยายน 2555 |
ปีที่ 19, ฉบับที่ 179 กันยายน 2555 |
|
|
The American Biology Teacher |
American Scientist |
Astronomy |
BioScience |
Chemistry in Australia |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.74, No.6 August 2012 |
Vol.100, No.5 September- October 2012 |
Vol.40, No.10 October 2012 |
Vol.62, No.8 August 2012 |
August 2012 |
|
|
J. of College Science Teaching |
Discover |
Mathematics Teacher |
Mathematics Teaching (MT) |
Mathematics Teaching in the Middle School |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.42, No.1 September- October 2012 |
September 2012 |
Vol.106, No.1 August 2012 |
No.230 September 2012 |
Vol.18, No.1 August 2012 |
|
|
NewScientist |
NewScientist |
Physics Today |
Popular Science |
Primary Science |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.215, No.2878 18 August 2012 |
Vol.215, No.2879 25 August 2012 |
Vol.65, No.8 August 2012 |
Vol.281, No.3 September 2012 |
No.124 September/ October 2012 |
|
|
Science & Children |
Science Scope |
Science Teacher |
Teaching Children Mathematics |
Time |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.50, No.1 September 2012 |
Vol.36, No.1 September 2012 |
Vol.79, No.6 September 2012 |
Vol.19, No.1 August 2012 |
Vol.180, No.10 3 September 2012 |
|
|
Time |
|
|
สารบัญ |
Vol.180, No.11 10 September 2012 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วารสาร |
Mathematics Teacher (Vol.105, No.4, November 2011, pp.269-273) |
ชื่อบทความ: |
Navigating between the dimensions. |
ผู้แต่ง: |
Fleron, Julian F. and Ecke, Volker |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 6 ช่วงชั้น 1,2,3 |
คำสำคัญ: |
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ / กิจกรรมคณิตศาสตร์ / ความรู้สึกเชิงปริภูมิ / Learning Mathematics / Mathematics Activity / Spatial Sense |
สรุปเนื้อหา: |
ผู้เขียนนำเสนอกิจกรรม 2 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักรียนได้สำรวจรูปเรขาคณิตสามมิติในมุมมองที่หลากหลาย และเน้นที่การประยุกต์กับชีวิตจริง การเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อมโยงของรูปเรขาคณิตกับภาคตัดขวาง (ที่เป็นรูปเรขาคณิต 2 มิติ) โดยปกติกิจกรรมที่ใช้กันคือให้นักเรียนได้ผ่า หั่นรูปทรงสามมิติในชีวิตจริงในทิศทางที่ต่างกันจะเห็นว่าได้รูปร่างจากการหั่นที่ต่างกัน แต่ในที่นี้ผู้เขียนได้พยายามขยายกิจกรรมนี้ให้หลากหลายขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น กิจกรรมแรกที่ 1 คือ The flatland game กติกาการเล่น 1. เลือกผู้ส่งสาร 1 คน หรือหลายคน โดย 1 คน หรือ 1 ทีมเล็ก ๆ 1 ทีมนั้นจะเป็นผู้บรรยาย 2. เลือกทีมผู้สร้าง 3. เกมเริ่มด้วยให้ผู้ส่งสารเลือก รูป 3 มิติ จากที่กำหนดไว้ 4. ผู้ส่งสารเริ่มเล่นโดยวาดภาพตัดขวาง 1 รูป (มองจากมุมบน) ของวัตถุปริศนานี้ 5. ผู้สร้างพยายามเดาว่า วัตถุปริศนา นี้คืออะไร 6. ผู้บรรยายวาดภาคตัดขวางอื่นของวัตถุนี้อีก 7. ทำเช่นข้อ 5-6 ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้สร้าง จะตอบถูก หรือว่าจนกว่าผู้บรรยายไม่มีอะไรจะให้วาดแล้ว และผู้เขียนยังได้เขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการเล่นเกมนี้ไว้อีกด้วย กิจกรรมที่ 2 คือ Sliceforms : physical three-dimentional reconstruction หลังจากที่นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการเปลี่ยนรูปจากมุมมองของ ภาคตัดขวาง กับรูปสามมิติของสิ่งของนั้น ๆ แล้ว ในเกมถัดไปนี้ จุดประสงค์คือให้ออกแบบ และสร้างโมเดล ที่ประกอบจากแบบภาคตัดขวางแสดงวัตถุในชีวิตจริง โดยใช้กระดาษแข็งที่มีแบบของภาคตัดขวางนำมาตัด แล้ววางเสียบต่อตามแนวแกน x แกน y ให้เป็นโมเดลของวัตถุที่ต้องการ นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถนำแนวคิดไปสร้างโมเดลของตัวเองได้อีกด้วย แต่อาจจะต้องใช้เวลามากสักหน่อย ซึ่งผู้เขียนก็ได้ให้แนวทางการจัดกิจกรมต่าง ๆ สำหรับนักเรียนไว้ในบทความนี้อีกด้วย |
|
|
วารสาร |
Mathematics Teacher (Vol.106, No.1, August 2012, pp.16-21) |
ชื่อบทความ: |
Flying high with the bird tetrahedron. |
ผู้แต่ง: |
Gjovik, Oistein |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 1,2,3,4 ช่วงชั้น 3 |
คำสำคัญ: |
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ / กิจกรรมคณิตศาสตร์ / โอริกามิ / Learning Mathematics / Mathematics Activity / Origami |
สรุปเนื้อหา: |
ผู้เขียนนำเสนอกิจกรรมและสิ่งที่พบจากการทำกิจกรรมกับนักเรียนครูของเขา โดยผู้เขียนเห็นว่ากิจกรรมนี้จะสามารถนำไปปรับใช้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาได้ ซึ่งจุดมุ่งหมายของกิจกรรมนี้ไม่ใช่แค่ต้องการให้นักเรียนครูของเขาจดจำกิจกรรมเพื่อนำไปใช้ในห้องเรียนเลย แต่ที่มากกว่านั้นคือ เขาต้องการที่จะพัฒนาทักษะการคิดเชิงคณิตศาสตร์ สาระแบบรูป และความตระหนักถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนากิจกรรมด้วยตัวเองของนักเรียนครูเหล่านี้ กิจกรรมเริ่มโดยครู (ผู้เขียน) แจกกระดาษให้นักเรียนคนละ 4 แผ่น ที่มีสีแตกต่างกัน และใบกิจกรรมอีก 1 แผ่น จากนั้นสอนวิธีการพับรูปทรงหกหน้า “Bird tetrahedron” (ทรงหกหน้าที่มีแต่ละด้านเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยสามารถดูเป็นทรงสี่หน้า 2 รูปที่เอาด้านฐานประกบกันก็ได้) ขณะพับก็พูดคุยถึงสิ่งที่พบจากการพับ เช่น ขณะเริ่มพับกระดาษ A4 ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งนักเรียนก็พับได้ตามความเคยชิน ครูจึงถามว่า “จะแน่ใจได้อย่างไรว่านี่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส” จากนั้นพูดคุยกันต่อโดยใช้คำศัพท์คณิตศาสตร์ต่างๆ ไปถึงที่มาของสูตรหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม หรือ ทำไมผลรวมภายในของรูปสามเหลี่ยมจึงเท่ากับ 180 องศา หลังจากที่ทุกคนพับรูปทรงหกหน้านี้ได้แล้ว จึงอภิปรายรวมกันทั้งห้องว่า “มีรูปสามเหลี่ยมกี่ชนิดที่พบในรูปทรงนี้” “มีมุมที่แตกต่างกันกี่ขนาด ที่เห็น” รวมทั้งที่มาของการที่รูปทรงนี้ถูกเรียกว่า “Bird tetrahedron” เป็นต้น นอกจากนี้นักเรียนยังได้คำนวณหาปริมาตร โดยวัดความยาวด้านและคำนวณหาปริมาตรโดยใช้สูตรการหาพีระมิด และใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสช่วยในการคำนวณ หลังจากนั้นครูให้นักเรียนทำการหาแกนสมมาตร กิจกรรมถัดไป ครูแจกกระดาษรูปมุมมองด้านบนของทรงหกหน้า “Bird tetrahedron” ให้นักเรียนใช้ระบายสี เพื่อหาคำตอบว่าจะมีหน้าที่สีแตกต่างกันไปทั้งหมดกี่แบบ ซึ่งนักเรียนจะพบว่ามีทั้งหมด 24 แบบ จากนั้นให้นักเรียนใช้กรรไกรตัด แล้วนำชิ้นส่วนทั้ง 24 ชิ้นมาวางเรียงต่อกันเพื่อเล่นเกมปริศนา ตามกฎ 2 ข้อ คือ 1) ชิ้นที่จะนำมาต่อชิดกันต้องมีสีเดียวกัน 2) รูปที่สำเร็จด้านนอกสุดจะต้องเป็นสีเดียวกันทั้งหมด จากนั้นคำถามสุดท้ายของบทเรียนนี้ คือ นักเรียนคิดว่าทรงหกหน้านี้จะสามารถใช้แทนลูกเต๋าเที่ยงตรงได้หรือไม่ ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ใน 1 บทเรียน นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งเรื่องเรขาคณิต พีชคณิต กฏการนับ และสำรวจเรียนรู้เกี่ยวกับลูกเต๋า และยังได้ ทรงหกหน้า “Bird tetrahedron” รวมั้งเกมปริศนากลับไปเป็นของส่วนตัวที่บ้านอีกด้วย |
|
|
วารสาร |
Teaching Children Mathematics (Vol.18, No.9, May 2012, pp.536-541) |
ชื่อบทความ: |
A super way to soak in linear measurement. |
ผู้แต่ง: |
Kurz, Terri L. |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 2 ช่วงชั้น 1,2 |
คำสำคัญ: |
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ / การวัดความยาว / กิจกรรมคณิตศาสตร์ Learning Mathematics / Mathematics Activity / Measuring Length |
สรุปเนื้อหา: |
จากแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการจะสอนเรื่องการวัดความยาว/ระยะทางในบริบทที่มีความหมายต่อนักเรียน ผู้เขียนได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าปืนฉีดน้ำที่ชื่อว่า “Super Soaker” นั้นยิงได้ไกล 30 ฟุต ตามคำกล่าวอ้างในโฆษณาหรือไม่ ซึ่งในการจัดกิจกรรม นักเรียนได้ใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายเพื่อหาคำตอบจากการทดลองที่นักเรียนชื่นชอบ โดยนักเรียนสามารถใช้ทั้งหน่วยเมตริก และหน่วยอื่นได้ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ อุปกรณ์สำหรับพ่นน้ำ/ฉีดน้ำ เช่น ปืนฉีดน้ำ Super Soaker ขวดน้ำ หรือ กระป๋องสเปรย์ ใบกิจกรรมที่ 1 และ 2 สายวัดหรือไม้เมตร พื้นที่สำหรับทำกิจกรรม น้ำ และ คลิปบอร์ด เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยแบ่งหน้าที่เป็น คนบันทึกผล คนทำการยิงปืนฉีดน้ำ และคนที่ทำการวัดระยะทาง ซึ่งในการทำกิจกรรมนั้นให้นักเรียนสลับหน้าที่กัน โดยนักเรียน 1 คน จะทำหน้าที่ผู้ยิง 3 รอบ จะได้ผลจากการทดลองทั้งหมด 9 รอบ ในบทเรียนที่ 1 ครูเริ่มจากให้นักเรียนตัดสินใจร่วมกันว่าจะทำการทดลองอะไร มีขั้นตอนอย่างไร โดยครูตั้งคำถามเพื่ออภิปรายร่วมกัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการทดลองให้ดียิ่งขึ้น จากนั้นทำใบกิจกรรมที่ 1 สำหรับบทเรียนที่ 2 ให้นักเรียนลงมือทำการทดลอง เก็บผลการทดลอง และทำใบกิจกรรมที่ 2 แล้วจึงกลับมาอภิปรายร่วมกันในห้องเรียนอีกครั้ง ซึ่งผู้เขียนยังได้นำเสนอลักษณะตัวอย่างคำถามในการอภิปรายกับนักเรียนและแนวทางการทำกิจกรรมเพิ่มเติมไว้ในบทความอีกด้วย |
|
|
วารสาร |
Teaching Children Mathematics (Vol.18, No.9, May 2012, pp.558-564) |
ชื่อบทความ: |
Building understanding of decimal fractions. |
ผู้แต่ง: |
D’Ambrosio, Beatriz S. and Kastberg Signe E. |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 1 ช่วงชั้น 2 |
คำสำคัญ: |
การเรียงลำดับทศนิยม / การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ / กิจกรรมคณิตศาสตร์ / Learning Mathematics / Mathematics Activity / Ordering decimals |
สรุปเนื้อหา: |
ผู้เขียนได้นำเสนอผลการนำกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียงลำดับทศนิยม โดยใช้แผ่นตาตาราง (Grid paper) ไปให้นักเรียนวิชาชีพครูใช้ ซึ่งเขาพบว่านักเรียนของเขาส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียงลำดับทศนิยมได้ คำถามสำหรับนักเรียนครูเหล่านี้คือ ให้นักเรียนเรียงลำดับจำนวน 0.606, 0.0666, 0.6, 0, 0.66, 0.060 จากน้อยไปหามาก และให้ธิบายแนวคิด ซึ่งพบว่ามีนักเรียนหลายคนทำไม่ได้ เพราะนักเรียนมองจำนวนทศนิยมเหล่านี้ในลักษณะของจำนวนเต็มแล้วเรียงลำดับเหมือนจำนวนเต็ม เมื่อเขาทดลองจัดกิจกรรมให้นักเรียนใช้แผ่นตาตาราง ซึ่งมีปรากฎอยู่ในหลักสูตร กลับพบว่า ไม่ใช่นักเรียนทุกคนจะคุ้นเคย และสามารถทำได้ ซึ่งผู้เขียนก็ได้นำเสนอสิ่งที่พบจากการทำกิจรรมของนักเรียนหลาย ๆ คน ซึ่งได้สรุปออกมาว่าสิ่งที่เกิดความยากในการใช้สื่อในการเรียงลำดับทศนิยมนั้น คือ 1) นักเรียนควรสร้างความมหมายด้วยว่า ส่วนพัน สามารถเขียนได้ โดยแบ่งส่วนสิบ ออกเป็น 10 ส่วน ถ้าตัวอย่างเป็น ให้ใช้ส่วนร้อยแสดง 0.43 และใช้ส่วนพันแสดง 0.432 นักเรียนจะไม่ได้พัฒนาความสัมพันธ์ในส่วนนี้จากการแบ่งกระดาษตาตาราง 2) นักเรียนหลายคนยังมองไม่เห็นทศนิยมในการบวกของค่าของทศนิยมในแต่ละหลัก (รูปการกระจาย) ซึ่งนักเรียนมักจะมอง 0.606 ในรูป 606 ส่วนพัน แทนที่จะมองเป็น 6 ส่วนสิบกับ 6 ส่วนพัน ซึ่งนักเรียนจะสามารถเปรียบเทียบกับ 0.6 หรือ 6 ส่วนสิบ ได้ง่าย 3) นักเรียนบางคนยังมองทศนิยมเป็นจำนวนเต็ม ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะแรเงา 0.606 บนกระดาษตาตารางอย่างไรหากเขียนทศนิยมนี้ในรูป 0.6060 ซึ่งจะเห็นว่าหากแปลงทศนิยมทุกจำนวนเป็นเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันแล้ว นักเรียนก็จะไม่รู้ว่าต้องแรเงาทศนิยมเหล่านั้นบนกระดาษตาตารางได้อย่างไร จากสิ่งที่พบ ผู้เขียนได้นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1) ในการทำกิจกรรมให้เน้นไปที่การแรเงาทศนิยมบนกระดาษตาตารางทีละแบบ 2) เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการเขียนทศนิยมในรูปการบวกของทศนิยมในแต่ละหลัก (รูปกระจาย) 3) หลังจากกิจกรรมนี้นักเรียนควรได้ทำกิจกรรมที่มีชื่อว่า “Packaging task” ซึ่งเป็นกิจกรรมของ Fosnot และ Dolk เพื่อให้นักเรียนทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยของหน่วย |
|
|
วารสาร |
Teaching Children Mathematics (Vol.19, No.1, August 2012, pp.38-41) |
ชื่อบทความ: |
Perimeter and Beyond. |
ผู้แต่ง: |
Ortiz, Enrique and Siegel, Aryn A. |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 1,2 ช่วงชั้น 2 |
คำสำคัญ: |
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ / กิจกรรมคณิตศาสตร์ / ความยาวรอบรูป / Learning Mathematics / Mathematics Activity |
สรุปเนื้อหา: |
ผลจากความคิดของผู้เขียนที่ว่า กระบวนการแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะกับปัญหาที่ซับซ้อน ที่ต้องมีการวางแผนมากมาย ผู้เขียนจึงได้ใช้บทเรียนเรื่องการหาความยาวรอบรูปมาให้นักเรียนใช้การแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเริ่มบทเรียนโดยการให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของเธอ ทบทวนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการหาความยาวรอบรูปของรูปหลายเหลี่ยม ที่นักเรียนทราบแล้วว่า ได้มาจาก ผลบวกของความยาวด้านของรูปหลายเหลี่ยมทุก ๆ ด้าน ในชั้นเรียนเธอให้หาความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กว้าง 2 ซม. และยาว 8 ซม. (ครูวาดรูปให้นักเรียนดูโดยให้แค่ความกว้าง และความยาวกำกับที่รูปอย่างละด้าน และไม่ได้บอกชื่อชนิดของรูปสี่เหลี่ยมนี้) ซึ่งในชั้นเรียนนักเรียนต่างค่อย ๆ ใช้คำศัพท์เพื่อเรียกชื่อรูปหลายเหลี่ยมนี้ บางคนก็บอกว่ารูปสี่เหลี่ยมุมฉาก บางคนบอกว่ารูปสี่เหลี่ยม บางคนบอกว่ารูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน แต่หากนักเรียนบางคนตอบผิด เช่นบอกว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน นักเรียนคนอื่นก็ช่วยกันอภิปรายเหตุผลร่วมกัน หลังจากนักเรียนต่างคิดหาความยาวรอบรูปก็พบว่า นักเรียนใช้กลวิธีที่ต่างกัน บางคนบวกความยาวด้านกว้าง บวกความยาวด้านยาว แล้วจึงนำมาบวกกัน บางคนเลือกบวกให้ครบสิบก่อน (บวกด้านกว้างกับด้านยาวให้ครบสิบก่อน) แล้วค่อยนำมาบวกกัน ขณะที่มีบางคนใช้วิธีนำความกว้างมาคูณ 2 แล้วบวกกับ ความยาวคูณ 2 ซึ่งเป็นวิธีที่ครูคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในชั้นเรียน ซึ่งเมื่อครูนำแนวคิดนี้ของนักเรียนมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนก็ทำให้นักเรียนที่เหลือสนใจที่จะเลือกใช้วิธีนี้ในการทำครั้งต่อไป |
|
|
|
จดหมายข่าว โครงการเครือข่ายสารสนเทศวิทยาศาสตร์สู่สถาบันการศึกษา จัดทำโดย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 924 ถนนสุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2392 4021-9 ต่อ 3306 โทรสาร 0 2712 3758
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|