|
ปีที่ 9 | ฉบับที่ 23 | วันที่ 15 ธันวาคม 2555
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี รักษาสุขภาพ อ่าน SciInfoNet NEWS อยู่กับบ้าน และพบกับบทความเต็มได้ที่ห้องสมุด สสวท. ในเวลาราชการ หากท่านเห็นว่า SciInfoNet NEWS จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ขอท่านส่งต่อ และ/หรือ แนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มใบสมัคร ซึ่งสามารถ download ได้ที่ Memberships แล้วส่งกลับมายัง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และเช่นเคย หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ โปรดส่งมายังโครงการ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป |
|
|
|
|
|
เคหการเกษตร |
เทคนิค |
สารคดี |
หมอชาวบ้าน |
Business+ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ปีที่ 36, ฉบับที่ 10 ตุลาคม 2555 |
ปีที่ 29, ฉบับที่ 343 ตุลาคม 2555 |
ปีที่ 28, ฉบับที่ 331 กันยายน 2555 |
ปีที่ 34, ฉบับที่ 402 ตุลาคม 2555 |
ปีที่ 23, ฉบับที่ 283 กันยายน 2555 |
|
|
Computer Today |
Eworld |
Micro Computer |
PC Today |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ปีที่ 22, ฉบับที่ 437 ปักษ์หลัง กันยายน 2555 |
ฉบับที่ 2012-09 กันยายน 2555 |
ปีที่ 30, ฉบับที่ 327 ตุลาคม 2555 |
ปีที่ 9, ฉบับที่ 115 กันยายน 2555 |
|
|
The American Biology Teacher |
Astronomy |
J. of Biological Education |
J. of Chemical Education |
Chemistry World |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.74, No.7 September 2012 |
Vol.40, No.11 November 2012 |
Vol.46, No.3 September 2012 |
Vol.89, No.10 October 2012 |
Vol.9, No.9 September 2012 |
|
|
Discover |
Education in Chemistry |
Int. J. of Mathematical Education |
Mathematics in School |
NewScientist |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
October 2012 |
Vol.49, No.5 September 2012 |
Vol.43, No.6 15 September 2012 |
Vol.41, No.4 September 2012 |
Vol.215, No.2882 15 September 2012 |
|
|
NewScientist |
Physics Education |
Physics Today |
Popular Science |
Int. J. of Science Education |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.215, No.2883 22 September 2012 |
Vol.47, No.5 September 2012 |
Vol.65, No.9 September 2012 |
Vol.281, No.4 October 2012 |
Vol.34, No.11-12 July- August 2012 |
|
|
Tech & Learning |
Time |
Time |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.33, No.2 September 2012 |
Vol.180, No.4 1 October 2012 |
Vol.180, No.15 8 October 2012 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วารสาร |
Mathematics Teacher (Vol.105, No.5, December 2011/January 2012, pp.346-351) |
ชื่อบทความ: |
Teaching Geometry through Problem – Based Learning. |
ผู้แต่ง: |
Schettino, Carmel |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 3 ช่วงชั้น 3 |
คำสำคัญ: |
ความยาวส่วนโค้ง / มุมจุดศูนย์กลางวงกลม / เรขาคณิต / วงกลม / ส่วนวงของวงกลม / Arc length / Central angle in a circle / Circle / Geometry / Sector of circles |
สรุปเนื้อหา: |
สอนเรขาคณิตโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สอนเรขาคณิตโดยใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทฤษฎี ความรู้และทักษะในการแก้ปัญหา ในขณะที่ครูจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ แต่ไม่ใช่ผู้สั่งการ กิจกรรมนี้ครูนำเสนอปัญหาเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ส่วนวงของวงกลม (sector of circles) ซึ่งนักเรียนควรจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปวงกลมก่อนดังนี้ “ถ้ามุมจุดศูนย์กลางพิซซ่าแต่ละชิ้นเท่ากับ 36 องศา พิซซ่าหนึ่งถาดจะมีจำนวนพิซซ่ากี่ชิ้น” ให้นักเรียนแก้ปัญหาและนำเสนอแนวคิดกับเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งจากปัญหานี้นักเรียนจะต้องเชื่อมโยงความรู้ว่ามุมที่จุดศูนย์กลางวงกลม เท่ากับ 360 องศา ดังนั้นถ้ามุมจุดศูนย์กลางพิซซ่าแต่ละชิ้นเท่ากับ 36 องศา จะได้ว่าพิซซ่าหนึ่งถาดจะมีทั้งหมด 360 องศา / 36 องศา = 10 ชิ้น จากกิจกรรมนี้นักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมุมจุดศูนย์กลางวงกลม (central angle in a circle) ด้วยตัวของนักเรียนเอง เมื่อนักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับมุมจุดศูนย์กลางวงกลมแล้ว ครูนำเสนอปัญหาเพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจเรื่องความยาวส่วนโค้ง (arc length) และพื้นที่ส่วนวงของวงกลมดังนี้ “พิซซ่าขนาด 12 นิ้ว ถูกแบ่งออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน พิซซ่าแต่ละชิ้นมีความยาวของขอบเท่ากับเท่าไร” ปัญหานี้ทำให้นักเรียนเกิดคำถามต่างๆ มากมาย เช่น พิซซ่าขนาด 12 นิ้วหมายถึงอะไร (เส้นผ่านศูนย์กลางหรือรัศมี) หน้าตัดพิซซ่ามีลักษณะคล้ายรูปวงกลมหรือไม่ ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นนี้ทำให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกัน นักเรียนบางคนเชื่อมโยงได้ว่าขอบของพิซซ่าก็คือเส้นรอบวงของวงกลมนั่นเอง หรือนักเรียนบางคนใช้แนวคิดที่ได้จากปัญหาแรกโดยเชื่อมโยงกับเรื่องมุมจุดศูนย์กลางวงกลมและเรื่องเศษส่วนจนสามารถหาความยาวส่วนโค้งของวงกลมได้ ลักษณะคำถามที่ใช้ควรมีลักษณะต่อไปนี้ 1. ให้นักเรียนได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว 2. ให้นักเรียนได้ใช้ความรู้พื้นฐานเดิมในการแก้ปัญหา 3. สร้างแรงจูงใจในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ 4. แนะนำให้รู้จักคำศัพท์ใหม่ 5. ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ 6. ท้าทายนักเรียนทั้งเก่งและอ่อน 7. ให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่โดยวิธีนำเสนอที่แตกต่างกัน |
|
|
วารสาร |
Mathematics Teacher (Vol.105, No.5, December 2011/January 2012, pp.372-378) |
ชื่อบทความ: |
Finding Possibility and Probability Lessons in Sport. |
ผู้แต่ง: |
Busadee, Nutjira; Laosinchai, Parames; Panijpan, Bhinyo. |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 5 ช่วงชั้น 3,4 |
คำสำคัญ: |
การจัดหมู่ / การเรียงสับเปลี่ยน / ความน่าจะเป็น / ความเป็นไปได้ / Commutation / Permutation / Possibility / Probability |
สรุปเนื้อหา: |
ความน่าจะเป็นกับกีฬา กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องการสอนความน่าจะเป็นโดยนำสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการเล่นกีฬาชนิดต่างๆ เช่น ฟุตบอล ปิงปอง วิ่งผลัด กอล์ฟ มาใช้สอนให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) และการจัดหมู่ (Commutation) ตัวอย่างสถานการณ์เช่น
สถานการณ์: ฟุตบอล กิจกรรมนี้ต้องการให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดเกี่ยวกับหลักการนับเบื้องต้น โดยกำหนดสถานการณ์การแข่งขันฟุตบอลให้ดังนี้ ในการแข่งขันฟุตบอลมีผลการแข่งขันที่เป็นไปได้คือ ชนะ แพ้ และเสมอ การจัดลำดับทำโดยรวมคะแนนที่ได้จากการแข่งขันทั้งหมด โดยแต่ละครั้งที่แข่งชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน และถ้าแพ้ได้ 0 คะแนน ถ้านักฟุตบอลทีมหนึ่งแข่งทั้งหมด 35 ครั้งได้คะแนน 81 คะแนนผลการแข่งขันที่เป็นไปได้ได้แก่อะไรบ้าง ซึ่งจะได้ 5 วิธีที่เป็นไปได้ ได้แก่ ชนะตั้งแต่ 23 – 27 เกม ส่วนที่เหลือเสมอ
สถานการณ์: วิ่งผลัด กิจกรรมนี้ต้องการให้ผู้เรียนเห็นความแตกต่างระหว่างการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โดยกำหนดสถานการณ์การแข่งวิ่งผลัดให้ดังนี้ ผู้จัดการทีมวิ่งผลัด 4 x 100 ต้องการคัดเลือกนักวิ่งลงแข่งจำนวน 4 คนจาก 5 คน (A, B, C, D, E) ผู้จัดการจะจัดคนลงแข่งได้กี่แบบ ถ้า (1) ไม่คำนึงถึงลำดับของผู้ลงแข่ง (2) คำนึงถึงลำดับของผู้ลงแข่ง จะได้ว่าเมื่อไม่พิจารณาถึงลำดับของผู้เล่น (การจัดหมู่) จะมีวิธีจัดนักวิ่งลงแข่งขัน 5 วิธี ดังนี้ ABCD, ABCE, ABDE, ACDE, และ BCDE ในกรณีที่พิจารณาลำดับของนักวิ่งจะได้ว่าในแต่ละกรณีข้างต้นสามารถสลับกันได้อีกกรณีละ 24 วิธีหรือ 4! จะได้วิธีจัดเรียงนักวิ่งเป็นทั้งหมด 5 x 4! = 120 วิธี นอกจากตัวอย่างกิจกรรมข้างต้นแล้วผู้เขียนยังนำเสนอตัวอย่างสถานการณ์การเล่นกีฬาอีกหลายชนิดเพื่อนำมาใช้สอนให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเรื่องการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่อีกด้วย |
|
|
วารสาร |
Mathematics Teacher (Vol.105, No.5, December 2011/January 2012, p.400) |
ชื่อบทความ: |
A Sweet Way to Investigate Volume. |
ผู้แต่ง: |
Bannister, Nicole A. |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 1 ช่วงชั้น 4 |
คำสำคัญ: |
ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ / ปริมาตร / พื้นที่ภาคตัดขวาง / วิธีจาน / วิธีชั้นทรงกระบอก / วิธีวงแหวน / สืบเสาะ / Cross section / Disk Method / Investigate / Mathematical Model / Shell method / Volume / Washer Method |
สรุปเนื้อหา: |
การหาปริมาตรอาหาร กิจกรรมนี้ได้ถูกออกแบบโดยใช้ชื่อว่า “Food labs” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนที่เรียนแคลคูลัสเกิดความเข้าใจความคิดรวบยอดเรื่องปริมาตร ทำได้โดยให้นักเรียนหาปริมาตรของช็อกโกแลต Hershey’s Kiss และโดนัท Krispy Kreme ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย นักเรียนต้องทราบพื้นที่ภาคตัดขวาง (cross section) และหาตัวแบบทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ที่เหมาะสมมาช่วยในการคำนวณปริมาตร นอกจากนั้นนักเรียนจะต้องตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใดในการหาปริมาตร ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหาปริมาตรที่เรียกว่า วิธีจาน (Disk Method) ในการหาปริมาตรของช็อกโกแลต Hershey’s Kiss สำหรับการหาปริมาตรของโดนัท Krispy Kreme นักเรียนใช้วิธีการหาปริมาตรที่แตกต่างกัน บางคนใช้วิธีวงแหวน (Washer Method) ในขณะที่บางคนใช้วิธีที่เรียกว่า Shell method หรือวิธีชั้นทรงกระบอก เป็นต้น กิจกรรมนี้เป็นการนำสถานการณ์ปัญหาจริงมาใช้เป็นตัวอย่างให้นักเรียนได้แก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงซึ่งนักเรียนจะเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น |
|
|
วารสาร |
Mathematics Teaching in the Middle School (Vol.17, No.3, October 2011, pp.146-153) |
ชื่อบทความ: |
Take a bite out of Fraction Division. |
ผู้แต่ง: |
Cengiz, Nesrin.; Rathouz, Margaret. |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 1 ช่วงชั้น 2 |
คำสำคัญ: |
การสอนคณิตศาสตร์ / การหารเศษส่วน / เศษส่วน / Fraction / Fraction Division / Teaching Mathematics |
สรุปเนื้อหา: |
การหารเศษส่วน การหารเศษส่วนเป็นเรื่องที่ยากสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและเป็นเรื่องยากสำหรับครูในการสอนเช่นเดียวกัน กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาครูผู้สอนให้มีความเข้าใจเรื่องการหารเศษส่วน ทั้งในเรื่องของความหมาย การตีความจากสถานการณ์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และการแปลความหมายของผลลัพธ์ที่ได้
กิจกรรมที่ 1: สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการหารเศษส่วน กิจกรรมนี้ต้องการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการหารเศษส่วนโดยเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการทบทวนความหมายเศษส่วน ตัวเศษ ตัวส่วน จากนั้นให้ครูแก้ปัญหาจากสถานการณ์ต่อไปนี้ “แม่อบขนมคุกกี้จำนวน 1 ถาด อยากทราบว่าคุกกี้ถาดนี้มีจำนวนคุกกี้กี่ชิ้น ถ้าคุกกี้ 2/5 ของ 1 ถาด เท่ากับคุกกี้ 6 ชิ้น”
กิจกรรมที่ 2: เชื่อมโยงสถานการณ์ปัญหากับแผนภาพและสัญลักษณ์ กิจกรรมนี้ต้องการให้ครูฝึกตีความจากสถานการณ์ปัญหาไปสู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์และฝึกการใช้แผนภาพช่วยในการแก้ปัญหา โดยกำหนดปัญหาต่อไปนี้ ให้ครูเขียนแผนภาพและเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงการแก้ปัญหา สถานการณ์ปัญหา 1: แม่มีแป้งอยู่ 5/6 ถ้วย แม่จะทำคุกกี้ได้กี่ถาด ถ้าคุกกี้ 1 ถาดใช้แป้ง 1/2 ถ้วย สถานการณ์ปัญหา 2: แม่มีคุกกี้อยู่ 5/6 ถาด ต้องการแบ่งคุกกี้ให้เพื่อน 1 คน แม่และเพื่อนจะได้คุกกี้คนละเท่าไรถ้าทั้งสองคนต้องได้คุกกี้เท่ากัน
กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้ผู้สอนเกิดความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวกับการหารเศษส่วน สร้างสามารถเชื่อมโยงจากปัญหามาเป็นแผนภาพและเป็นสัญลักษณ์ หรือสามารถเชื่อมโยงจากสัญลักษณ์มาเป็นสถานการณ์ปัญหาได้ |
|
|
วารสาร |
Mathematics Teaching in the Middle School (Vol.17, No.3, October 2011, p.384) |
ชื่อบทความ: |
The Scoop on Ice Cream. |
ผู้แต่ง: |
Tillema, Erik |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 3 ช่วงชั้น 3,4 |
คำสำคัญ: |
การจัดหมู่ / การเรียงสับเปลี่ยน / Commutation / Permutation |
สรุปเนื้อหา: |
ไอศกรีมกรวย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องการสอนความน่าจะเป็นโดยนำสถานการณ์การตักไอศกรีมใส่กรวยมาใช้สอนให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) และการจัดหมู่ (Commutation) โดยครูนำเสนอสถานการณ์ และให้นักเรียนตอบคำถามดังนี้ สถานการณ์: ร้านขายไอศกรีมแห่งหนึ่งผลิตไอศกรีมออกมา 30 รส โดยขายไอศกรีมอยู่ 3 แบบ ได้แก่ ไอศกรีมกรวย 1 ก้อน 2 ก้อน และ 3 ก้อน ร้านค้าแห่งนี้ได้โฆษณาว่ามีไอศกรีมแบบต่างๆให้เลือกมากกว่า 30,000 แบบด้วยกัน ให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบว่าร้านค้านี้โฆษณาเกินจริงหรือไม่ 1) ไอศกรีมกรวยแบบมากกว่า 1 ก้อน ถ้าตักไอศกรีมสองกรวยถ้าลำดับการตักต่างกัน จะถือว่าเป็นแบบที่ต่างกันหรือไม่ เช่น ตักไอศกรีมรสมะนาวก้อนแรกกับรสวานิลาก้อนที่สองต่างกับไอศกรีมรสวานิลาก้อนแรกกับรสมะนาวก้อนที่สองหรือไม่ 2) มีไอศกรีม 8 รส จะตักไอศกรีมกรวยแบบ 2 ก้อนได้กี่วิธีโดยที่ลำดับการตักไอศกรีมมีผลทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน และในกรณีที่ลำดับการตัก ไม่มีผล ทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน จะตักไอศกรีมได้กี่วิธี 3) จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไอศกรีมทั้ง 2 ก้อนมีรสชาติเดียวกัน ลำดับการตักไอศกรีมมีผลทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกันหรือไม่ 4) สมมติว่าที่ร้านมีไอศกรีมเพียง 4 รส จะมีวิธีตักไอศกรีมกรวยแบบ 3 ก้อนที่แต่ละก้อนรสชาติไม่เหมือนกันได้กี่วิธี โดยลำดับการตักไอศกรีมมีผลทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน 5) สมมติให้ลำดับการตักไอศกรีม ไม่มีผล ทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน จะตักไอศกรีมกรวยแบบ 3 ก้อนได้กี่วิธี 6) มีไอศกรีม 4 รส จะตักไอศกรีมกรวยแบบ 3 ก้อนได้กี่วิธีโดยที่มีไอศกรีม 2 ก้อนรสเดียวกัน อีกก้อนที่เหลือคนละรสกัน ถ้าลำดับการตักไอศกรีมมีผลทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน จะตักไอศกรีมได้กี่วิธี และในกรณีที่ลำดับการตัก ไม่มีผล ทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน จะตักไอศกรีมได้กี่วิธี 7) จะมีวิธีตักไอศกรีมกรวยแบบ 3 ก้อนได้ทั้งหมดกี่วิธี (รวมรสที่ซ้ำกันด้วย) ถ้าลำดับการตักไอศกรีมมีผลทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน และถ้าลำดับการตัก ไม่มีผล ทำให้ได้ไอศกรีม 2 แบบที่แตกต่างกัน 8) จากคำตอบที่ได้ จงพิจารณาว่าร้านแห่งนี้จะตักไอศกรีมได้แตกต่างกันถึง 30,000 วิธีหรือไม่ กิจกรรมนี้เป็นการนำบริบทจริงที่นักเรียนคุ้นเคยมาใช้เป็นตัวอย่างให้นักเรียนได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจในความคิดรวบยอดเรื่องความน่าจะเป็นทั้งเรื่องการนับเบื้องต้น การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยากเรียนรู้ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น |
|
|
|
จดหมายข่าว โครงการเครือข่ายสารสนเทศวิทยาศาสตร์สู่สถาบันการศึกษา จัดทำโดย ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 924 ถนนสุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2392 4021-9 ต่อ 3306 โทรสาร 0 2712 3758
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|