|
ปีที่ 10 | ฉบับที่ 6 | วันที่ 31 มีนาคม 2556
|
|
|
|
|
|
|
|
ฉบับนี้พบกับสรุปบทความน่าสนใจ และเช่นเคยพบกับบทความเต็มใน SciInfoNet NEWS ได้ที่ห้องสมุด สสวท. ในเวลาราชการ หากท่านเห็นว่า SciInfoNet NEWS จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ขอท่านส่งต่อ และ/หรือ แนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มใบสมัคร ซึ่งสามารถ download ได้ที่ Memberships แล้วส่งกลับมายัง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และเช่นเคย หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ โปรดส่งมายังโครงการ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป |
|
|
|
|
|
เทคนิค |
Business+ |
Computer Today |
Creative & Idea Kaizen |
Hobby Electronics |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ปีที่ 29, ฉบับที่ 346 มกราคม 2556 |
ฉบับที่ 287 มกราคม 2556 |
ปีที่ 22, ฉบับที่ 444 ปักษ์แรก มกราคม 2556 |
ปีที่ 7, ฉบับที่ 76 มกราคม 2556 |
ปีที่ 21, ฉบับที่ 178 พฤศจิกายน- ธันวาคม 2555 |
|
|
Micro Computer |
for Quality |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ปีที่ 30, ฉบับที่ 329 ธันวาคม 2555 |
ปีที่ 19, ฉบับที่ 183 มกราคม 2556 |
|
|
Astronomy |
Chemistry in Australia |
Discover |
Int. J. of Mathematical Education |
Mathematics Teacher |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.41, No.2 February 2013 |
December 2012/ January 2013 |
January/ February 2013 |
Vol.43, No.8 15 December 2012 |
Vol.106, No.5 December 2012/ January 2013 |
|
|
NewScientist |
Physics Teacher |
Physics Today |
Primary Science |
J. of Research in Science Teaching |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.216, No.2896/2897 22/29 December 2012 |
Vol.50, No.9 December 2012 |
Vol.65, No.11 November 2012 |
No.126 January/ February 2013 |
Vol.49, No.10 December 2012 |
|
|
Studies in Science Education |
Teaching Science |
Time |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.48, No.2 September 2012 |
Vol.58, No.4 December 2012 |
Vol.181, No.1 14 January 2013 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วารสาร |
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (ปีที่ 27, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2555, pp.1-7) |
ชื่อบทความ: |
สื่อสังคม (Social Media): เครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา |
ผู้แต่ง: |
สชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระ 4 |
คำสำคัญ: |
การเรียนรู้ / การสืบค้นข้อมูล / สื่อสังคม / แหล่งข้อมูล / ICT / Information and Communication Technology / Social Media |
สรุปเนื้อหา: |
ในอดีตการศึกษาค้นคว้าหรือทำวิจัยระดับอุดมศึกษาโดยส่วนใหญ่ใช้แหล่งเรียนรู้จากหนังสือ ตำรา ตลอดจนวารสารทางวิชาการต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ จนมาถึงยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) การสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ในโลกออนไลน์มีความสะดวกมากขึ้น สื่อสังคม หรือ Social Media เกิดขึ้นเพื่อให้โอกาสแก่ผู้ใช้งานได้สร้างและแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ ด้วยตนเองร่วมกับบุคคล องค์การ ชุมชนสังคมบนเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเป็นฐาน และเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในการสื่อสาร สื่อสังคมสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาได้ โดยเป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เช่น การแสดงสถานะที่เตือนกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนัดหมาย การเสนอและสะท้อนความคิดเห็นต่อกัน ตัวอย่างสื่อสังคมเหล่านี้ ได้แก่ Facebook, YouTube, Google Doc, SlideShare, Delicious, Wikipedia, Blogger, Twitter, Bubbl.us และ Jing เป็นต้น |
|
|
วารสาร |
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (ปีที่ 27, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2555, pp.131-140) |
ชื่อบทความ: |
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ในห้องเรียนกับชีวิตประจำวัน |
ผู้แต่ง: |
จิรนันท์ พึ่งกลั่น และ ชานนท์ จันทรา |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระ 6 ช่วงชั้น 3,4 |
คำสำคัญ: |
กระบวนการเรียนรู้ / การแก้ปัญหา / การคิดวิเคราะห์ / การตัดสินใจ / การทำงานกลุ่ม / การให้เหตุผล / ชีวิตประจำวัน / Problem Based Learning |
สรุปเนื้อหา: |
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ปัญหาที่เป็นจริงหรือสถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียนมาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหา เป็นผู้ชี้แนะ เสนอแนะแนวทาง และเตรียมแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมไว้ให้ การเรียนรู้ในลักษณะนี้จะช่วยนักเรียนสร้างและขยายความรู้บนพื้นฐานและประสบการณ์เดิมของตนเอง ช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ทักษะการให้เหตุผลและการตัดสินใจ ทักษะการสื่อสารและทักษะทางสังคม นอกจากนี้ การแก้ปัญหาที่เป็นจริงจะทำให้นักเรียนมองเห็นการเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับชีวิตประจำวัน |
|
|
วารสาร |
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (ปีที่ 27, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2555, pp.149-157) |
ชื่อบทความ: |
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่านโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ |
ผู้แต่ง: |
สวาท สายปาระ และ เพลิฬ สายปาระ |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระ 4 |
คำสำคัญ: |
การแบ่งเซลล์ / การเรียนการสอน / เจตคติ / บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
สรุปเนื้อหา: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้บทเรียนที่มีประสิทธิภาพไปใช้ในการสอน โดยใช้โปรแกรม Authorware version 7 ช่วยในการสร้างบทเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดน่าน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาชีววิทยาทั่วไป ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 20 คน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบที (t-test) และหลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักศึกษามีความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประมาณค่าเฉลี่ยเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่านักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน |
|
|
วารสาร |
วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ (ปีที่ 33, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2555, pp.397-409) |
ชื่อบทความ: |
ผลการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์โดยการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดด้วยดินน้ำมัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
ผู้แต่ง: |
ศคิเทพ ปิติพรเทพิน และ สูรเดช ศรีทา |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระ 1 ช่วงชั้น 3,4 |
คำสำคัญ: |
การแบ่งเซลล์ / การเรียนการสอน / การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด / ชีววิทยา / ผลการจัดการเรียนรู้ / Animation / Stop motion |
สรุปเนื้อหา: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดด้วยดินน้ำมันในวิชาชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ในภาคต้น ปีการศึกษา 2554 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตชั้นเรียน การให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน การเขียนบันทึกการเรียนรู้ การประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน การประเมินการทำงานกลุ่ม และการสัมภาษณ์นักเรียนอย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์เพิ่มมากขึ้น พัฒนาทักษะการนำเสนมอผลงานหน้าชั้นเรียนและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อครูวิทยาศาสตร์ และนักการศึกษาในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยใช้การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดต่อไป |
|
|
|
จดหมายข่าว โครงการเครือข่ายสารสนเทศวิทยาศาสตร์สู่สถาบันการศึกษา จัดทำโดย ฝ่ายพัฒนาองค์กร ส่วนบริหารองค์ความรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 924 ถนนสุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2392 4021-9 ต่อ 3306
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|