|
ปีที่ 10 | ฉบับที่ 9 | วันที่ 15 พฤษภาคม 2556
|
|
|
|
|
|
|
|
อากาศร้อน หลบร้อนอยู่กับบ้านพบกับสรุปบทความน่าสนใจ และเช่นเคยพบกับบทความเต็มใน SciInfoNet NEWS ได้ที่ห้องสมุด สสวท. ในเวลาราชการ หากท่านเห็นว่า SciInfoNet NEWS จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ขอท่านส่งต่อ และ/หรือ แนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มใบสมัคร ซึ่งสามารถ download ได้ที่ Memberships แล้วส่งกลับมายัง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และเช่นเคย หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ โปรดส่งมายังโครงการ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป |
|
|
|
|
|
สารคดี |
Computer Today |
Science Illustrated |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
ปีที่ 28, ฉบับที่ 336 กุมภาพันธ์ 2556 |
ปีที่ 22, ฉบับที่ 447 ปักษ์หลัง กุมภาพันธ์ 2556 |
ฉบับที่ 021 มีนาคม 2556 |
|
|
American Educational Research J. |
Mathematics Competitions |
NewScientist |
NewScientist |
Physics Teacher |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.50, No.1 February 2013 |
Vol.25, No.2 2012 |
Vol.217, No.2904 16 February 2013 |
Vol.217, No.2905 23 February 2013 |
Vol.51, No.1 January 2013 |
|
|
Physics Teacher |
Physics Today |
Science & Education |
Teaching Children Mathematics |
Time |
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
|
|
สารบัญ |
Vol.51, No.2 February 2013 |
Vol.65, No.12 December 2012 |
Vol.22, No.1 January 2013 |
Vol.19, No.6 February 2013 |
Vol.181, No.8 4 March 2013 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วารสาร |
อาหาร (ปีที่ 43, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2556, pp.23-25) |
ชื่อบทความ: |
น้ำมันมะกอกกับสุขภาพ |
ผู้แต่ง: |
สักรินทร์ ยีสมันอาหลี และ ฮาณี เอียดยี |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระ 1 ช่วงชั้น 3 |
คำสำคัญ: |
กรดโอเลอิก / คุณค่าทางโภชนาการ / น้ำมันมะกอก / Extra Virgin / Light Olive Oil / Pomage Oil / Refined / Virgin |
สรุปเนื้อหา: |
มะกอกที่ใช้ผลิตน้ำมันมะกอก ปลูกกันหนาแน่นในแถบเมดิเตอเรย์เนียน แถบตะวันตกของสหรัฐอเมริกา อเมริกาใต้ และ ออสเตรเลีย ประเทศที่ผลิตน้ำมันมะกอกมากที่สุดในแถบเมดิเตอเรย์เนียน ได้แก่ ประเทศสเปน รองลงมาได้แก่ กรีซ ตุรกี ตูนิเซีย โมร็อคโค ซีเรีย และโปรตุเกส ในผลมะกอกมีน้ำมันอยู่ประมาณ 20% เป็นน้ำมันกรดไขมันไม่อิ่มตัว 1 ตำแหน่ง หรือ กรดโอเลอิกอยู่สูงถึง 60-80% ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ให้ประโยชน์สูงกว่ากรดไขมันกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ยังมี แคโรทีน วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินอี มีรายงานว่าน้ำมันมะกอกมีผลทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดลดลงประมาณ 13% และ ทำให้ระดับกรดไขมันโปรตีน LDL ลดลง 21% น้ำมันมะกอกมีหลายประเภท แต่ละประเภทให้คุณค่าต่างกัน และมีกรรมวิธีการผลิตที่ต่างกัน ได้แก่ 1. Extra Virgin เป็นน้ำมันที่ได้จากการคัดผลมะกอกสด ที่เก็บเกี่ยวภายในหนึ่งวัน ทำการบดเนื้อมะกอกจนละเอียด แล้วปั่นด้วยเครื่องเหวี่ยงให้น้ำมันแยกออกจากเนื้อและเมล็ด น้ำมันมีสีอมเขียวหรืออมสีทอง อาจกล่าวได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุด 2. Virgin กระบวนการผลิตจะผ่านความร้อนเป็นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด สกัดจากผลมะกอกที่มีคุณภาพรองลงมาจาก Extra Virgin มีคุณค่าด้วยกว่า เพราะสารอาหารรวมถึงสารเคมีที่เป็นประโยชน์หลายชนิดถูกทำลายด้วยความร้อน 3. Refined กระบวนการสกัดใช้ความร้อน ใช้สารเคมี (solvent) ซึ่งเมื่อแยกน้ำมันออกมาแล้ว ยังต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ เช่น ฟอกสี ฟอกกลิ่น และ มักเติม Virgin Olive Oil ลงไปส่วนหนึ่ง เพื่อทำให้น้ำมันมะกอกที่ได้มีกลิ่นสีของน้ำมันมะกอกดั้งเดิม 4. Pomage Oil เป็นน้ำมันที่ผ่านการสกัดเอา Virgin หรือ Extra Virgin Oil ออกไปแล้ว เป็นน้ำมันที่ยังค้างกระบวนการสกัดทางอุตสาหกรรม แต่ยังสามารถนำมาบริโภคได้ 5. Light Olive Oil เป็นน้ำมันส่วนท้ายสุดที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งไม่มีการเติมน้ำมันประเภท Virgin หรือ Refined กลับเข้าไป ทำให้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น |
|
|
วารสาร |
อาหาร (ปีที่ 43, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2556, pp.33-39) |
ชื่อบทความ: |
น้ำตาลและบทบาทสำคัญของสารให้ความหวาน |
ผู้แต่ง: |
อุษา ภูคัสมาส |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระ 1 ช่วงชั้น 3 |
คำสำคัญ: |
กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ น้ำตาล / น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว / น้ำตาลโมเลกุลคู่ / รสหวาน / สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน / สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน / Acesulfame K / Aspartame / Cyclamate / Disaccharide / Lactitol / Maltitol / Mannitol / Monosaccharide / Polysaccharide / Saccharin / Sorbitol / Stevia / Stevioside / Sucralose / Xylitol |
สรุปเนื้อหา: |
รสหวานในอาหาร ได้จาก น้ำตาล สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน และ สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน น้ำตาล จัดอยู่ในกลุ่มสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) ได้แก่ กลูโคส ในผักและผลไม้ที่มีรสหวาน ฟรักโทส ในน้ำผึ้ง และ กาแล็กโทส ในน้ำนม 2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) ได้แก่ ซูโครส หรือ น้ำตาลทราย ในผักและผลไม้ทั่วไป มอลโทส ในข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลต์ และ แล็กโทส ในน้ำนม 3. พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล มีโมเลกุลเชิงซ้อน (Polysaccharide) ได้แก่แป้ง เซลลูโลส และ ไกลโคเจน สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลทรายในปริมาณเท่ากัน ได้แก่ 1. Saccharin ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 300 เท่า จะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2. Cyclamate ใช้ในรูปเกลือโซเดียม มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 50-60 เท่า อาหารที่ใช้ Cyclamate ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 3. Acesulfame K มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 200 เท่า เมื่อได้รับความร้อนจะเสถียรมากกว่าน้ำตาลซูโครส จึงไม่สลายภายใต้ภาวะพาสเจอไรซ์ 4. Stevia หรือ หญ้าหวาน ที่มี Stevioside เป็นวัตถุให้ความหวาน มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 150-300 เท่า นิยมใช้ในจีนและญี่ปุ่น 5. Aspartame ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 200 เท่า 6. Sucralose ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 400-800 เท่า ร่างกายไม่สามารถดูดซึม Sucralose จึงไม่ให้พลังงาน สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน หรือ กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ 1. Lactitol ใช้ในกลุ่มยาพวก osmotic family drug ช่วยแก้อาหารท้องผูก 2. Maltitol เรียกอีกชื่อว่า hydrogenated high maltose glucose syrup หรือ hydrogenated glucose syrup มีความหวานประมาณ 90% ของน้ำตาลซูโครส 3. Mannitol มีความหวานเป็น 70% ของน้ำตาลซูโครส ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี ใช้ผสมในหมากฝรั่ง 4. Sorbitol เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่พบในธรรมชาติ ใช้ในอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 5. Xylitol มีความหวานพอๆ กับน้ำตาลซูโครส |
|
|
วารสาร |
Education in Chemistry (Vol.50, No.2, March 2013, p.31) |
ชื่อบทความ: |
Learn chemistry – higher education. |
ผู้แต่ง: |
Josh Howgego |
สาระการเรียนรู้: |
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระ 8 ช่วงชั้น 4 |
คำสำคัญ: |
เคมี / เว็บไซต์ / สื่อการเรียนการสอน / OER / Open Education Resource |
สรุปเนื้อหา: |
เว็บไซต์ Learn Chemistry ของ Royal Society of Chemistry (http://www.rsc.org/) ได้เพิ่มข้อมูลสำหรับการศึกษาในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา ได้แก่สื่อการเรียนการสอนซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource – OER) รวมถึงสื่อสำหรับพัฒนาทักษะด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ข้อมูลด้านอาชีพ เครือข่าย และ การประชุม โดยรวมแล้วเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สอนด้านสื่อการเรียนการสอน และสร้างความตระหนักในการศึกษาเคมีในระดับสูงต่อไป |
|
|
|
จดหมายข่าว โครงการเครือข่ายสารสนเทศวิทยาศาสตร์สู่สถาบันการศึกษา จัดทำโดย ฝ่ายพัฒนาองค์กร ส่วนบริหารองค์ความรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 924 ถนนสุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2392 4021-9 ต่อ 3306
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|