Table of Contents Table of Contents
Previous Page  150 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 150 / 254 Next Page
Page Background

ตอบ

A คือ หลอดเลือดฝอย B คือ อาร์เทอรี C คือ เวน

เพราะ A มีขนาดเล็กและเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกกับภายในใกล้เคียงกันแสดงว่ามีผนัง

บางมาก

B และ C มีขนาดใกล้เคียงกัน แต่เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของ B น้อยกว่า C แสดงว่า B

ผนังหนากว่า C ดังนั้น B คือ อาร์เทอรี และ C คือ เวน

การที่อาร์เทอรีมีผนังหนาที่สุดนั้นเหมาะสมกับหน้าที่ เนื่องจากเลือดภายในอาร์เทอรีจะมี

แรงดันสูง ชั้นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำ�ให้อาร์เทอรีมีความยืดหยุ่นมาก สามารถ

ขยายตัวรองรับแรงดันเลือดที่ค่อนข้างสูงจากเวนทริเคิลซ้ายได้ ส่วนเวนมีขนาดใหญ่เช่น

เดียวกันแต่มีผนังที่บางกว่าอาร์เทอรี ซึ่งสอดคล้องกับการที่เวนนำ�เลือดที่มีแรงดันต่ำ�กลับ

เข้าสู่หัวใจ สำ�หรับหลอดเลือดฝอยมีขนาดเล็กและผนังบางมากเมื่อเทียบกับอาร์เทอรีและเวน

ซึ่งสอดคล้องกับการที่หลอดเลือดฝอยเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่าง

หลอดเลือดและเนื้อเยื่อ ซึ่งทำ�ให้ระยะทางระหว่างภายในและพื้นผิวของหลอดเลือดนั้น

มีค่าลดลง การแลกเปลี่ยนสารจึงเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. ไส้เดือนดินอาศัยในดินที่ชื้น เซลล์ของร่างกายจึงมีโอกาสสัมผัสกับน้ำ�ตลอดเวลา ทำ�ให้เซลล์

สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง เพราะเหตุใดไส้เดือนดินจึงยังจำ�เป็นต้อง

มีระบบหมุนเวียนเลือด ขณะที่พลานาเรียหรือกลุ่มหนอนตัวแบนไม่ต้องอาศัยระบบ

หมุนเวียนเลือด

ตอบ

เพราะไส้เดือนดินมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าพลานาเรีย การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างเซลล์

กับสิ่งแวดล้อมสามารถเกิดขึ้นได้สำ�หรับเซลล์ที่อยู่ด้านนอก ขณะที่เซลล์ด้านในจำ�เป็นต้อง

อาศัยระบบหมุนเวียนเลือดเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ทั่วถึง ส่วนพลานาเรียมี

ขนาดเล็กสามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ทั่วถึงโดยไม่จำ�เป็นต้องอาศัยระบบหมุนเวียนเลือด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

138