หรือไม่ว่าการที่ลูกมีฟีโนไทป์ 2 ลักษณะอัตราส่วน 1 : 1 เป็นเพราะยีนควบคุมสีตัวและยีนควบคุม
ลักษณะปีกอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน เมื่อมีการถ่ายทอดแอลลีลของยีนทั้งสองที่อยู่บนโครโมโซม
เดียวกันจะไปปรากฏในเซลล์สืบพันธุ์เดียวกัน
จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาการผสมพันธุ์แมลงหวี่ตามรูป 5.28 ในหนังสือเรียน และร่วมกัน
วิเคราะห์และอภิปรายคำ�ถามในหนังสือเรียนว่า ในกระบวนการแบ่งเซลล์มีเหตุการณ์ใดที่ทำ�ให้เกิด
การจัดกลุ่มใหม่ของแอลลีล และได้เซลล์สืบพันธุ์แบบ
b
+
vg
และ
b vg
+
เพื่ออธิบายว่าลักษณะของลูก
ตัวสีดำ�ปีกปกติและตัวสีน้ำ�ตาลปีกกุดเกิดขึ้นได้อย่างไร
ครูทบทวนและอธิบายเกี่ยวกับการเกิดครอสซิงโอเวอร์และการเกิดรีคอมบิเนชัน จากนั้นครูและ
นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม ซึ่งนักเรียนควรสรุปได้ว่า
ยีนบนโครโมโซมเดียวกันจะถ่ายทอดไปด้วยกัน แต่การเกิดครอสซิงโอเวอร์ที่มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วน
ของโครมาทิดจะมีผลทำ�ให้ยีนบนโครโมโซมเดียวกันที่เคยถ่ายทอดไปด้วยกันบางส่วนจะต้อง
แยกออกจากกันและเกิดรีคอมบิเนชัน (recombination) ไปปรากฏในเซลล์สืบพันธุ์เดียวกันได้
เมื่อเกิดการผสมพันธุ์จึงก่อให้เกิดลักษณะที่มีความแปรผัน ซึ่งมีความสำ�คัญต่อวิวัฒนาการ
ครูอาจให้ตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนฝึกทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายทอดยีน
บนโครโมโซมเดียวกัน
หมู่เลือดระบบABO ในมนุษย์ควบคุมด้วยยีนบนออโตโซม โรคตาบอดสีควบคุมด้วยแอลลีลด้อย
บนโครโมโซมเพศ พ่อและแม่มีเลือดหมู่ A และตาปกติทั้งคู่ มีลูกชายคนหนึ่งมีเลือดหมู่ O และ
ตาบอดสี พ่อแม่คู่นี้จะมีโอกาสให้กำ�เนิดลูกในกรณีต่อไปนี้เป็นเท่าใด
1 ลูกสาวมีเลือดหมู่ O และตาปกติ
2 ลูกชายมีเลือดหมู่ A และตาบอดสี
1. ลูกสาวมีเลือดหมู่ O และตาปกติในอัตราส่วน หรือ 1/8
2. ลูกชายมีเลือดหมู่ A และตาบอดสีในอัตราส่วน
จากข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า จีโนไทป์ของพ่อและแม่เลือดหมู่ A จะเป็น
I
A
i
จากข้อมูลว่า
ลูกมีเลือดหมู่ O แสดงว่าได้รับแอลลีล
i
จากพ่อและแม่ ส่วนจีโนไทป์ตาปกติของพ่อและ
แม่จะเป็น X
C
Y และ X
C
X
c
ตามลำ�ดับ เนื่องจากมีลูกชายตาบอดสีซึ่งได้แอลลีลโรคตาบอด
สีจากแม่ที่เป็นพาหะ พ่อแม่คู่นี้มีโอกาสมีลูกที่มีจีโนไทป์ต่าง ๆ ดังนี้
ตรวจสอบความเข้าใจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
117