Table of Contents Table of Contents
Previous Page  70 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 70 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

60

๔. ผู้สอนควรปรับเปลี่ยนความเชื่อบางประการที่ขัดขวางการใช้การประเมิน

การเรียนรู้ระหว่างเรียนในห้องเรียน (Black and Wiliam, 1998; Black

and Harrison, 2001) ดังต่อไปนี้

การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและ

ทรัพยากร

การสอน คือ การถ่ายโอนความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ส่วนการ

เรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถจดจำ�ความรู้ที่ผู้สอนถ่ายโอนไปให้

ได้โดยไม่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียน

กับเพื่อนร่วมชั้น

ผู้เรียนแต่ละคนมีระดับสติปัญญาที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (Fixed I.Q.)

และจะคงที่ไปตลอดชีวิต โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จาก

ระบบโรงเรียน

การประเมินการเรียนรู้ไปสู่ผู้เรียนในกระบวนการประเมินการ

เรียนรู้ระหว่างเรียน ทำ�ให้ครูผู้สอนสูญเสียอำ�นาจการควบคุม

ชั้นเรียน

บทบาทของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองในการประเมิน

การเรียนรู้ระหว่างเรียน

๑. ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองไม่ควรให้ความสำ�คัญกับการประเมิน

การเรียนรู้สรุปรวมและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินดังกล่าว (เช่น

ระดับผลการเรียน ลำ�ดับของผู้เรียน และการรับรองมาตรฐานของสถาน

ศึกษา) แต่เพียงอย่างเดียว จนทำ�ให้การประเมินการเรียนรู้แบบสรุปรวม

เป็นตัวกำ�หนดการเรียนการสอนและการประเมินผลในห้องเรียนทั้งหมด

หรือทำ�ให้การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนไม่ได้รับความสนใจและถูก

ละเลยในการปฏิบัติ

๒. ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองควรให้ความสำ�คัญกับการประเมินการ

เรียนรู้ระหว่างเรียน และเชื่อมโยงการประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนและ

การประเมินการเรียนรู้แบบสรุปรวมเข้าด้วยกัน โดยทำ�ความเข้าใจบทบาท

ของการประเมินทั้งสองแบบว่า การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนมุ่งเน้น

การให้ข้อมูลย้อนกลับในระหว่างการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนา

ตนเองอย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ และเพื่อให้ครูผู้สอนปรับปรุงการ

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองอย่างสม่ำ�เสมอ ส่วนการประเมิน

การเรียนรู้แบบสรุปรวมมุ่งเน้นการให้สารสนเทศเชิงสรุปเกี่ยวกับการเรียน

รู้ในภาพรวมของผู้เรียนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งการประเมินผลทั้งสอง

แบบต่างก็เกื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

๓. ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน

การเรียนรู้ระหว่างเรียน และได้รับประสบการณ์ตรงจากการประเมินการ

เรียนรู้ระหว่างเรียนในห้องเรียนของตนเอง นอกจากนั้นควรส่งเสริมให้

ผู้สอนทำ�งานวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) เพื่อทำ�ความเข้าใจ

เกี่ยวกับผลของการประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนที่มีต่อการพัฒนา

การเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาการสอนของผู้สอน