Table of Contents Table of Contents
Previous Page  67 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 67 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

57

๑๐. แนวทางการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจน

ด้านต่างๆ ของผู้เรียนนั้นจำ�เป็นต้องมีการประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่เริ่มต้น ระหว่าง และสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้การประเมินใน

รูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ รูปแบบการประเมิน

การเรียนรู้ ได้แก่ การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียน (Formative Assessment)

การประเมินการเรียนรู้สรุปรวม (Summative Assessment) และการประเมิน

การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ในการประเมินเพื่อพัฒนา

การเรียนรู้ และการประเมินตามสภาพจริงนั้น ผู้สอนจำ�เป็นต้องสะท้อนการประเมิน

ให้ผู้เรียนรับทราบเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเอง และผู้สอนต้องนำ�ผลการประเมิน

มาพิจารณาเพื่อทบทวนและปรับแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำ�เนินการ

แก้ไข ช่วยเหลือ หรือหาวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้และ

พัฒนาตนเองได้ตามแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้หรือเป้าหมายของตัวชี้วัดต่าง ๆ

(กุศลิน, ๒๕๕๕ )

แนวคิดสำ�คัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา

แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน

คิดและลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เพื่อเกิดการเรียนรู้และพัฒนา

ตนเองเต็มตามศักยภาพ การประเมินการเรียนรู้จึงมีความสำ�คัญและจำ�เป็นอย่างยิ่ง

ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน เพราะสามารถทำ�ให้ผู้สอนประเมินระดับ

พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

จุดประสงค์สำ�คัญของการประเมินการเรียนรู้ คือการช่วยให้ผู้เรียนเกิด

การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนหรือหลักสูตรวางไว้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบ

ในปัจจุบันก็คือ ผู้บริหาร ผู้สอน ตลอดจนผู้ปกครองเป็นจำ�นวนมากยังให้

ความสำ�คัญกับการประเมินผลสรุปรวม ที่เน้นการทำ�ข้อสอบ รวมถึงการให้

ความสำ�คัญกับผลลัพธ์ของการประเมินผลสรุปรวมที่ปรากฏในรูปของระดับ

ผลการเรียน (Grade) หรือลำ�ดับของผู้เรียนในชั้นเรียน (Rank) ซึ่งได้จากการ

เปรียบเทียบคะแนนระหว่างผู้เรียนมากกว่าการประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนที่

เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาการ

เรียนรู้ของตนเองของผู้เรียน แต่ละคน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมการ

เรียนรู้แบบท่องจำ�เพื่อสอบ หรือการเรียนรู้เพื่อแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้แบบ

ผิวเผินมากกว่าการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองซึ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้จะยั่งยืนกว่า

(กุศลิน, ๒๕๕๕; ขจรศักดิ์, เพ็ญจันทร์ และวรรณทิพา รอดแรงค้า, ๒๕๔๘)