หินออบซิเดียน
โดย :
วรพรรณ ทิณพงษ์
Hits
31598
เมื่อ :
วันพุธ, 30 มกราคม 2562
หินออบซิเดียน (Obsidian) เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง ทำให้เกิดการอัดตัวของแก๊สและกลายเป็นสาเหตุของการระเบิดที่รุนแรง ทำให้ลาวาแข็งตัวลงอย่างรวดเร็วผลึกแร่จึงไม่มีเวลาตกผลึก จึงเป็นหินที่มีผลึกเล็กมากหรือแทบไม่มีผลึก ลักษณะคล้ายแก้ว หินออบซิเดียนจึงถูกเรียกว่าแกรนิตเนื้อแก้ว ลักษณะหินมักมีสีดำเนื้อหินละเอียด มีความแข็งและขอบคม ในยุคโบราณมีการนำหินออบซิเดียนมาทำเป็นอาวุธ ในหินออบซิเดียนที่สัมผัสกับน้ำก็จะทำให้เกิดผลึกเส้นใยสีขาว กระจายคล้ายเกล็ดหิมะ ในประเทศไทยแทบไม่มีการพบ
คำสำคัญ
หิน, หินออบซิเดียน, Obsidian
ประเภท
Image
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรพรรณ ทิณพงษ์
วิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ป.1, ป.2, ป.3, ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทั่วไป
-
9749 หินออบซิเดียน /image-earthscience/item/9749-2019-01-31-01-53-22เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits
(11104)

ให้คะแนน
วนอุทยานแพะเมืองผี มีสภาพเป็นป่าบนเนินเขาเตี้ย ๆ สลับพื้นที่ราบ ...
Hits
(40002)

ให้คะแนน
หินชนวน (Slate) เป็นหินมีลักษณะเนื้อละเอียดมาก ผลึกแร่ตรวจไม่พบด้วยตาเปล่า ...