สารเคมีกับเครื่องสำอาง
- 1. การแนะนำ
- 2. การแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- 3. สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง
- 4. วิตามินเอและกรดวิตามินเอต่างกันอย่างไร???
- 5. Sunblock กับ Sunscreen
- 6. ค่า SPF (Sun Protecting Factor) คืออะไร
- 7. ค่า SPF ยิ่งมากยิ่งดีจริงหรือ???
- 8. AHA (Alpha Hydroxyl Acids) คืออะไร ทำให้หน้าขาวใส ได้จริงหรือ
- 9. กลูตาไธโอน (Glutathione)
- 10. BHA (Beta Hydroxy Acid) คืออะไร
- 11. Hyaluronic Acid (HA) กับการฉีดฟิลเลอร์
- 12. สาร Glutathione สำหรับทำให้ผิวขาวที่กำลังเป็นที่นิยม โดย นพ. สมนึก อมรสิริพาณิชย์
- - ทุกหน้า -
คำจำกัดความของเครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะกับผิวภายนอกเท่านั้น เช่น ผิวหนัง ริมฝีปาก และในช่องปาก เส้นผม เล็บ รวมทั้งอวัยวะเพศส่วนนอก
- ใช้เพื่อปรับแต่งให้แลดูดี โดยที่ไม่สามารถไปมีผลต่อโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกาย
- ใช้เพื่อระงับกลิ่นกาย แต่งกลิ่นหอม
- ใช้เพื่อความสะอาดในชีวิตประจำวัน เช่น ขจัดคราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรกตามผิวกาย เส้นผม
ตัวอย่างเครื่องสำอางที่มีการกล่าวอ้างเรื่องปรับสีผิว หรือทาแล้วช่วยลดไขมันทำให้ร่างกายผอมเพรียว โดยส่วนใหญ่เครื่องสำอางพวกนี้โฆษณาเกินจริง เนื่องจากเครื่องสำอางไม่สามารถไปมีผลต่อโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ ยังไม่สามารถบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรคด้วย
กลับไปที่เนื้อหา
การแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท ตามลำดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หากผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไป
1) เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี จึงต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผม ฟอกสีผม แต่งผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง ยาสีฟัน หรือน้ำยาป้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" และมีเลขทะเบียนในกรอบ อย.
2) เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา การกับดูแลจึงลดระดับลงมาจากการขึ้นทะเบียน เป็นเพียงการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น กระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เครื่องสำอางที่ผสมสารขจัดรังแค เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุม"
3) เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตรายจากการบริโภคได้น้อย ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม แป้งทาหน้า ลิปสติก เจลแต่งผม น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม อายแชโดว์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
กลับไปที่เนื้อหา
สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง
สารเคมีที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางมีเป็นจำนวนมาก แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา ได้แก่
1. ไฮโดรควิโนน (hydroquinone) ทำให้เกิดการแพ้ระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำเป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย
2. ปรอทแอมโมเนีย (ammoniated mercury) ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะและไตอักเสบ
3. กรดวิตามินเอ (vitamin A acid, retinoic acid tretinoin) ทำให้หน้าแดง ระคายเคือง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์พิการ
กลับไปที่เนื้อหา
วิตามินเอและกรดวิตามินเอต่างกันอย่างไร???
วิตามินเอหรือที่เรียกว่า เรตินอล (retinol) หรือวิตามินเอแอลกอฮอล์ คือ วิตามินที่มีความสำคัญ ต่อร่างกาย เพราะถ้าขาดวิตามินเอแล้วอาจทำให้มีปัญหาเรื่องผิวหนังและสายตาได้ โดยในปัจจุบันได้มี การนำวิตามินเอไปใช้ในเครื่องสำอางโดยมีหน้าที่เป็นสารปรับสภาพผิว
Retinol
กรดวิตามินเอหรือที่เรียก อีกชื่อหนึ่งว่า วิตามินเอแอซิด หรือเรติโนอิกแอซิด (retinoic acid) หรือเตรติโนอิน (tretinoin) นั้น แม้จะมีชื่อเรียกที่คล้ายกัน แต่จะมีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากวิตามินเอโดยสิ้นเชิง โดยกรดวิตามินเอมีฤทธิ์กระตุ้นการหลุดลอกของผิวหนังชั้นนอกอย่างรุนแรง และยังลดการยึดติดกันของ เซลล์ เมื่อเซลล์หลุดลอกออกได้ง่าย ก็จะทำให้การอุดตันของไขมันที่ผิวหนังลดลง จึงใช้รักษาสิวได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะอาจทำให้ผู้ใช้เกิด อันตรายได้ เช่น หน้าแดง ระคายเคือง แสบร้อนรุนแรง ผิวหน้าลอก และอาจเป็นอันตรายต่อทารกใน ครรภ์ ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้กรดวิตามินเอเป็นสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากผู้ใดลักลอบใส่ใน เครื่องสำอางจะมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนด
Retinoic acid
กลับไปที่เนื้อหา
Sunscreen
สารกันแดดประเภท Sunscreen เป็นสารกันแดดที่ออกฤทธิ์ป้องกันแสงแดดเมื่อมีการซึมเข้าสู่ผิวหนัง ทำหน้าที่ดูดกลืนรังสี UV เช่น Oxybenzone Benzophenone เป็นต้น
Sunblock
สารกันแดดประเภท Sunblock เป็นสารกันแดดที่ออกฤทธิ์ป้องกันแสงแดดทำหน้าที่สะท้อนรังสี UV ส่วนใหญ่จะเป็นสารจำพวก ไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) และ ซิงค์ออกไซด์ (ZnO2) ซึ่งจะทำหน้าที่ฉาบคลุมผิวหนัง แต่ไม่ได้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง
กลับไปที่เนื้อหา
SPF (Sun Protecting Factor) เป็นค่าที่ใช้บอกจำนวนเท่าของเวลาที่เราสามารถสัมผัสแสงแดดได้เมื่อเทียบกับเวลาที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด
ตัวอย่างเช่น น.ส. A จะเกิดการแสบร้อนของผิวหนังเมื่อเกิดการสัมผัสแสงแดดนาน 30 นาที หาก น.ส. A ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 20 หมายความว่า น.ส. A จะทนต่อแสงแดดได้นานถึง 30 x 20 = 600 นาที หรือ 10 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกแสบร้อนผิวหนัง
ที่มา : ภก. เดชาชัช สายเมธางกุร กองเภสัชกรรม สานักอนามัย
กลับไปที่เนื้อหา
ค่า SPF ยิ่งมากยิ่งดีจริงหรือ???
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อน แสงแดดจัด มีข้อแนะนำให้เลือกใช้เครื่องสำอางป้องกันแสงแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป สำหรับประเด็นที่ว่า ค่า SPF ยิ่งมากยิ่งดีจริงหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการใช้ ถ้าอยู่ในที่ แสงแดดจ้าเป็นเวลานานๆ เครื่องสำอางที่มีค่า SPF ยิ่งมากย่อมทำให้ระยะเวลาที่ผิวสามารถทนทานต่อ แสงแดดนานขึ้นตามลำดับ แต่เครื่องสำอางนั้นก็จะเหนียวเหนอะมากขึ้น และมีสารเคมีที่ใช้กันแดด มากตามเช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่ผู้ใช้จะเกิดการแพ้หรือระคายเคืองย่อมมีมากกว่าผู้ที่ใช้เครื่องสำอางที่มีค่า SPF ต่ำ อีกทั้งเครื่องสำอางที่มีค่า SPF ยิ่งมาก ราคายิ่งแพง จึงควรต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ ด้วย ในกรณีที่ไม่ได้ถูกแสงแดดจัดตลอดเวลา เช่น นั่งทำงานอยู่ในสำนักงานทั้งวัน การใช้เครื่องสำอางที่ มีค่า SPF มากๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นแต่อย่างใด
ที่มา : http://21wdhy.czuwaj.net/materialy/techniki/samarytanka.php
กลับไปที่เนื้อหา
AHA (Alpha Hydroxyl Acids) คืออะไร ทำให้หน้าขาวใส ได้จริงหรือ
เครื่องสำอางที่ช่วยให้ผิวขาวหลากหลายยี่ห้อ โฆษณาว่ามีสาร AHA เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะช่วยให้ผิวขาวขึ้น จึงเกิดคำถามที่ว่าถ้าใช้เครื่องสำอางที่มีสารตัวนี้ไปเรื่อยๆ จะช่วยให้ขาวมากขึ้นเพียงไร และคนที่มีผิวสองสีใช้ แล้วจะขาวเท่ากับคนที่ผิวขาวแต่กำเนิดได้หรือไม่
AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxyl Acids มีสรรพคุณที่กล่าวขวัญว่าเป็นสารช่วยลดริ้วรอยจุดด่างดำบนผิวหนังได้ จึงใช้ผสมกับครีมและโลชั่น เครื่องสำอางที่มี AHA เป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร เช่น กรดเมลิกแอปเปิ้ล กรดซิตริกในมะนาว กรดทาริกในองุ่น กรดแลกติกในนมเปรี้ยว และกรดไกลโคลิกในอ้อย เป็นต้น และเป็นส่วนประกอบถูกจัดในกลุ่มเดียวกับสารเคมีสำหรับลอกผิว ซึ่งใช้งานกันในหมู่แพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมพลาสติก
AHA ที่ใช้กันมากคือ กรดไกลโคลิก และกรดแลกติก แต่ยังมีหลายชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบ โดยปกติที่วางตลาดมีความเข้มข้นร้อยละ 10 หรือน้อยกว่านั้น แต่ในกรณีของผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังสามารถใช้ได้ถึงระดับความเข้มข้นร้อยละ 20 -30 หรือสูงกว่านั้น AHA จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องสำอางทั่วไป แต่อยู่ในหมวดของเวชสำอาง (Cosmeceutical) ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจาก AHA ไม่เหมือนเครื่องสำอางทั่วไป แต่มันซึมผ่านเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ และหากเข้มข้นพอก็จะลอกผิว ซึ่งเกิดผลในทางลบคือทำให้เซลผิวเสื่อมเร็วขึ้น และยังทำให้ผิวหนังชั้นนอกบางลงด้วย
เมื่อใช้เครื่องสำอางที่มี AHA อย่างสม่ำเสมอประมาณ 4 สัปดาห์ จะเห็นว่าผิวอ่อนนุ่ม และขาวขึ้น แต่เมื่อใช้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ นาน 12 สัปดาห์ สภาพผิวจะคงที่ และเมื่อหยุดใช้ ผิวก็จะกลับสู่สภาพเดิม ดังนั้นผู้ที่มีผิวสองสีจะใช้เครื่องสำอางที่มีสาร AHA เพื่อให้ขาวเท่ากับคน ที่มีผิวขาวแต่กำเนิดคงเป็นไปไม่ได้แน่นอน
ที่มา : รศ.สุชาตา ชินะ (เอ เอช เอ (AHA) กับความงามบนใบหน้า)
กลับไปที่เนื้อหา
กลูตาไธโอน
Glutathione (กลูตาไธโอน) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อของอวัยวะทุกส่วนโดยการต่อต้านอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Glutathione มีคุณสมบัติดังนี้
1. Detoxification : กลูต้าไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ1 จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ
2. Antioxidant : กลูต้าไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่
3. Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย2 โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin
ที่มา : http://www.proanox.com
รับประทาน Glutathione แล้วเป็นอย่างไร
ในวงการของอาหารเสริม มีการนำสาร Glutathione มาทำเป็นยาเม็ดเพื่อใช้ในการรับประทานเป็นอาหารเสริม โดยหวังผลว่า จะสามารถเสริมและทดแทนปริมาณกลูตาไธโอนที่ร่างกายมีไม่พอหรือบกพร่องไป อันเนื่องมาจากสาเหตุของโรคต่างๆ ซึ่งพบว่า Glutathione จะไม่สามารถถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารได้ เพราะจะถูกย่อยสลายและขับออกทางลำไส้ ดังนั้นการรับประทาน Glutathione จึงไม่ได้รับประโยชน์เลย ไม่ว่าจะกินครั้งละหลายๆ เม็ดหรือในขนาดที่สูงมากๆ ก็ตาม
ที่มา : http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/15415.html
กลับไปที่เนื้อหา
BHA (beta hydroxy acid) สารในกลุ่มนี้ที่มีการใช้ในปัจจุบัน คือ salicylic acid
ความแตกต่างของ AHA กับ BHA อยู่ที่ความสามารถในการละลายน้ำของสาร สารในกลุ่ม AHA เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี ทำให้การซึมผ่านลงไปในชั้นผิวหนังถูกจำกัด แต่ salicylic acid เป็นสารที่ละลายได้ดีในน้ำมัน ทำให้ซึม เข้าสู่ผิวหนังได้ดี จึงสามารถเพิ่มการผลัดเปลี่ยนเซลล์ที่ผิวได้ดี และยังสามารถซึมเข้าสู่ขุมขนได้ จึงช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่อยู่ในรูขุมขน หรือรักษารูขุมขนที่อุดตันได้ด้วย ทางการแพทย์ใช้ salicylic acid ในความเข้มข้น 2%ในการรักษาสิว เนื่องจากสามารถกำจัดสิวอุดตัน ได้ ถ้าใช้ในความเข้มข้นที่สูง ใช้รักษาหูดได้ และมีข้อดีคือระคายเคืองน้อยกว่า AHA
กลับไปที่เนื้อหา
กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เรียกสั้นๆว่า HA คือสารธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกาย และร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง โดยทั่วไปจะพบอยู่มากที่บริเวณจุดเชื่อมต่อ ข้อต่อ ข้อเข่า เนื้อเยี่อ เซลล์ผิวหนัง โดยมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความต้านทานต่อการเสียดสี (โดยเฉพาะที่ข้อต่อ ข้อเข่าต่างๆ) และเพิ่มความยืดหยุ่นความชุ่มชื่นให้แก่เซลล์ผิวหนัง ปริมาณ HA มักจะลดลงเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของการหย่อนคล้อย หรือเกิดริ้วรอยของผิวหนัง ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำ HA มาใช่ในวงการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาปวดข้อเข่าข้อต่อ รวมถึง ใช้ในวงการความงาม ทั้งในรูปของอาหารเสริม เครื่องสำอาง รวมทั้งการฉีด Dermal Filler ซึ่งเป็นการใช้ HA มาช่วยป้องกันริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้นและอ่อนนุ่มให้แก่เซลล์ผิวแล้วก็ยังช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยให้คอลาเจนและอีลาสตินประสานกันอย่างมั่นคงมากขึ้น ที่สำคัญมีความปลอดภัยสูงมากๆ โดยคุณสมบัติของสารไฮยาลูรอนิกมีอายุประมาณ 8-12 เดือน แล้วจะค่อยๆสลายไปตามธรรมชาติ
ที่มา : http://www.worthington-biochem.com/
ที่มา : http://www.beautyhealthy4you.com
กลับไปที่เนื้อหา
สารตัวนี้มีลักษณะ เป็นอณูของโปรตีนที่เกิดจาก กรดอะมิโน 3 ชนิด มาประกอบกันคือ
- Cysteine
- Glutamate
- Glycine
โดยปกติเซลล์ในร่างกายสามารถสร้างเองได้ จากกระบวนปฏิกิริยา ชีวเคมีในเซลล์ทั่วไป แต่ที่ทำงานสร้าง สารนี้มากที่สุดก็คือ ที่ตับของเรา การสร้างสารนี้ต้องอาศัย เอนไซม์ อย่างน้อย 2 ชนิด ดังนั้น หากมียีนผิดปกติเกี่ยวกับเอนไซม์ ทั้งสองชนิดนี้ก็จะไม่สามารถสร้างสารตัวนี้ได้ สารชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสารอณุมูลอิสระในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซม เซลล์ และ ทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย หากการสร้างสารนี้ผิดปกติหรือไม่สร้าง จะทำให้เสียชีวิตใน1-2 เดือนหลังคลอดได้
สารชนิดนี้เมื่อถูกสร้างก็จะถูกใช้ไปเป็นลำดับ หาก การใช้มีมากก็ต้องทดแทนมากขึ้นโดยการสร้าง ถ้ามีการวัดสาร Glutathione ว่าถูกใช้ไปเท่าไรก็จะสามารถบ่งบอกสภาวะความเครียดของร่างกายได้
การให้สาร Glutathione ทดแทนและเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการรับประทาน สารที่เป็นวัตถุดิบคือ N-acetyl cysteine หรือรับประทานอาหาร ที่มีสารวัตถุดิบหลักนี้ตามธรรมชาติ เช่น รับประทาน yogurt, granola, duck, oatmeal flakes, toasted wheat germ, cottage cheese แต่การกินสาร Glutathione โดยตรงจะไม่สามารถดูดซึมได้ดีเท่าที่ควร
ความนิยมทีใช้สาร Glutathione เพื่อให้ผิวขาวขึ้นนั้น อาจจะมาจาก ความพยายามที่จะให้Glutathione ไปยับยั้งการสร้าง เม็ดสี เพราะสาร Glutathione สามารถกดการทำงานของของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่วคราว แต่ทำไมถึงต้องนำมาฉีดกัน คำตอบง่ายๆก็คือ พยายามทำให้ซับซ้อนขึ้นจะได้ต้องมาพบแพทย์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้นเอง เพราะเราสามารถรับประทานอาหารที่เสริมสร้าง Glutathione ได้โดยตรงหรือ สามารถรับประทาน N-acetyl cysteine
เสริมก็ได้ มีราคาประหยัดว่า และ ปลอดภัยกว่า
ฟิลเลอร์ คือ อะไร จากรายการ บอกเล่าข่าวดี
กลับไปที่เนื้อหา
-
7105 สารเคมีกับเครื่องสำอาง /index.php/lesson-chemistry/item/7105-2017-06-04-04-20-19เพิ่มในรายการโปรด