การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของเหล็กหล่อโครเมียมสูง
ในงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างจุลภาคและความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมสูง 27 wt% Cr และ 36 wt%Cr ชนิดของเฟสได้ศึกษาด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (เอ็กซ์อาร์ดี) โครงสร้างจุลภาคได้ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง (โอเอ็ม) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (เอสอีเอ็ม) รวมทั้งการหาสัดส่วนโดยปริมาตรของคาร์ไบด์ยูเทคติกและวัดความแข็งแบบวิกเกอร์ จากผลของเอ็กซ์อาร์ดีพบว่าเหล็กหล่อ 27wt%Cr ในสภาพหล่อประกอบด้วย ออสเทนไนท์ และ M7C3 คาร์ไบด์ ในขณะที่เหล็กหล่อ 36wt%Cr ประกอบด้วยเฟอร์ไรท์ และ M7C3 คาร์ไบด์ จากการศึกษาโครงสร้างจุลภาค พบว่าหลังการอบดีสเตบิไลเชชันของเหล็กหล่อ 27 wt%Cr ประกอบด้วยคาร์ไบด์ทุติยภูมิที่ตกตะกอนในบริเวณเดนไดรท์ของออสเทนไนท์ที่เปลี่ยนเป็นมาร์เทนไซท์ระหว่างการเย็นตัวในอากาศ จากการวัดความแข็งพบว่าเหล็กหล่อ 27wt%Cr หลังการอบดีสเตบิไลเชชันความแข็งจะเพิ่มขึ้นจาก 426 HV30 ในสภาพหล่อ เป็น775 HV30 ส่วนเหล็กหล่อ 36wt%Cr ในสภาพหล่อมีความแข็งเท่ากับ 260 HV30 นอกจากนี้ยังพบว่าสัดส่วนโดยปริมาตรของคาร์ไบด์ยูเทคติกในเหล็กหล่อ 27wt%Cr มีค่ามากกว่าเหล็กหล่อ 36 wt%Cr
-
5605 การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของเหล็กหล่อโครเมียมสูง /index.php/project-biology/item/5605-2016-09-09-03-39-31-5605เพิ่มในรายการโปรด