ระบาดวิทยาของเชื้อ Fickettsial Bacteria ในประเทศไทย
การศึกษาทราบว่าการติดเชื้อถึงคนนั้นต้องติดจากพาหะซึ่งก็คือสัตว์ตระกูลขาข้อดูดเลือด และหนูเองไม่ใช่พาหะแต่เป็นแหล่งรังโรคโดยเชื้อที่พบในหนูเป็นชนิดเดียวกันกับเชื้อที่พบในคนในแนวทางการศึกษานอกจากใช้เทคนิค Multiplex PCR-RFLP แล้วเรายังได้ทำการหาลำดับของเบส (Seqencing) และจากการตรวจเทียบกับข้อมูลใน Gen Bank พบเชื้อสายพันธุ์ Rickettsia felis เชื้อนี้เป็นเชื้อที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในสหรัฐอเมริกาและในประเทศฝรั่งเศลมาก่อนแต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีรายงานว่าพบเชื้อสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยที่จังหวัดเชียงใหม่เราได้ตามไปเก็บตัวอย่างหนูและสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ในพื้นที่ที่ผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่แต่ผลเบื้องต้นไม่พบเชื้อในสัตว์ตัวอย่างที่จับมาได้ อีกหนึ่งปัญหาที่พบเกี่ยวกับเชื้อนี้คือว่าการตรวจเพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อนั้นทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากอาการของผู้ป่วยก็เหมือนๆ กับการเป็นไข้แต่ที่แปลกออกไปคือไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาเพนนิสซิลินการตรวจร่างกายเพื่อหารอยกัดของเห็บหรือไรอ่อน (Exchar) อาจบอกได้ว่าติดเชื้อแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหาได้ทุกรายเพราะสัตว์พวกนี้มักกัดในเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มส่วนมากเป็นบริเวณที่มีเสื้อผ้าปิด และอีกแนวทางคือการส่งตัวอย่างเลือดผู้ป่วยมาทำการตรวจที่สถาบันวิจัยต่างๆ ซึ่งตามสถาบันถ้าไม่ตรวจด้วยเทคนิค IFA ก็จะตรวจด้วยการทำ PCR ซึ่งทั้งสองวิธีนี้มีความแม่นยำสูงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน นี่เป็นเหตุให้เกิดแนวคิดในการทำ KIT ตรวจโรคขึ้นมาโดยที่ KIT นี้สามารถทำการตรวจโรคได้ที่โรงพยาบาลชุมชนเลย โดย KIT ที่กำลังพัฒนาใช้หลักการของการเกาะกันแบบจำเพาะของ Atibody กับ Antigen โดยเราจะทำการสร้าง Antigen ขึ้นมาและนำไปทดสอบหา Antibody ในเลือดของผู้ป่วย
-
5077 ระบาดวิทยาของเชื้อ Fickettsial Bacteria ในประเทศไทย /index.php/project/item/5077-fickettsial-bacteriaเพิ่มในรายการโปรด