การศึกษาสภาวะแรงตึงที่เหมาะสมที่ใช้พันขดลวดหม้อแปลงไฟฟ้า
การพันขดลวดหม้อแปลงไฟฟ้า ต้องมีการกำหนดแรงตึงของลวดเพื่อมิให้เกิดการโป่งพองของขดลวดและสิ้นเปลืองลวดตัวนำเมื่อแรงตึงน้อยไป หรือเกิดการฉีกขาดของฉนวนและเกิดการลัดวงจรเมื่อแรงตึงมากไป ในการควบคุมแรงตึงของเส้นลวดนั้นจะใช้ไม้คอร์กหนีบบนเส้นลวด เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีเนื้ออ่อนไม่ทำลายฉนวนหุ้มเส้นลวด แต่มีข้อเสียที่เกิดการสึกหรอเร็วทำให้แรงตึงในการพันเส้นลวดเกิดการเปลี่ยนแปลงลดลงตลอดเวลา ต้องมีการปรับค่าแรงบีบบ่อยๆ และส่งผลให้ขดลวดโป่งพอง เนื่องจากแรงบีบเส้นลวดที่ใช้กันในทางปฏิบัติจะให้แรงตึงกับเส้นลวดจนมีความเค้นประมาณ 3 กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร การแก้ปัญหา คือพยายามใช้ค่าความเค้นที่สูงขึ้นในการพันขดลวด เพื่อว่าเมื่อแรงบีบลดลงจะไม่ต่ำจนให้ลวดเกิดการโป่งพองการเพิ่มความเค้นด้วยความปลอดภัยต้องทดสอบว่า ความเค้นที่เพิ่มส่งผลต่อการฉีกขาดของฉนวนที่หุ้มลวดทองแดงหรือไม่ และทำให้ฉนวนกระดาษที่คั่นระหว่างชั้นขดลวดเกิดความเสียหายหรือไม่ และเส้นลวดเกิดการยืดตัวจนมีค่าความต้านทานสูงขึ้นเกินขีดกำหนดหรือไม่ โดยได้ทดลองกับลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6, 0.8 และ 1.0 มิลลิเมตร พบว่าสามารถเพิ่มความเค้นของเส้นลวดขณะพันได้ถึงราว 7 กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร โดยคุณภาพของลวดที่ได้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน และไม่เกิดความเสียหายต่อฉนวนส่วนอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้หาแนวทางประยุกต์ใช้อุปกรณ์เบรกนิวแมติกส์มาควบคุมแรงตึงที่ใช้ในการพันขดลวดให้มีค่าคงที่
-
6424 การศึกษาสภาวะแรงตึงที่เหมาะสมที่ใช้พันขดลวดหม้อแปลงไฟฟ้า /index.php/project/item/6424-2016-09-09-03-49-41-6424เพิ่มในรายการโปรด