การศึกษาหาองค์ประกอบทางเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในใบลำไย (The Study of Chemical Compositions and Biological Active of Dimocarpus longan Lour’s Leaves.)
โครงงาน “การศึกษาหาองค์ประกอบทางเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในใบลำไย” นี้ ได้ใช้ใบลำไย (Dimocarpus long an Lour) โดยนำใบลำไยแห้งมาปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด แล้วนำไปสกัดโดยแช่ในตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ Dichloromethane และ Methanol เป็นเวลา 1 สัปดาห์/ครั้ง โดยทำ 2 ครั้งตามลำดับ แล้วนำสารสกัดหยาบชั้น Dichloromethane ไปแยกด้วยวิธี Flash Column Chromatography โดยใช้ Silica gel 60H เป็นตัวดูดซับและใช้ 100% Hexane – 100% MeOH เป็นตัวชะ สามารถรวม fraction ได้ 12 fractions จากนั้นนำไปวิเคราะห์แต่ละ fraction ด้วยเทคนิค Nuclear Magnetic Resonance Spectrometer (NMR) เพื่อหา fraction ที่น่าสนใจมาทำการแยกต่อ โดย fraction ที่น่าสนใจ คือ fraction ที่ 7 และ fraction ที่ 10-12 นำมาแยกด้วยวิธี Column Chromatography โดยใช้ Sephadex LH20 เป็นตัวดูดซับและใช้ MeOH เป็นตัวชะ ซึ่ง fraction ที่ 7 สามารถแยกสารออกมาได้ 6 fraction และ fraction ที่ 10-12 สามารถแยกสารออกมาได้ 7 fraction และส่งสารบางส่วนของ fraction ที่ 3-12 ไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ 4 ชนิดคือ เชื้อมาลาเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
-
4869 การศึกษาหาองค์ประกอบทางเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในใบลำไย (The Study of Chemical Compositions and Biological Active of Dimocarpus longan Lour’s Leaves.) /project-all/item/4869-the-study-of-chemical-compositions-and-biological-active-of-dimocarpus-longan-lour-s-leavesเพิ่มในรายการโปรด