การเหนี่ยวนำของไคตินในการสร้างเอนไซม์ไคติเนส
ในการเลี้ยงเชื้อ 5 ชนิด ได้แก่เชื้อราที่ขึ้นบนตัวแมลงสาบ 3 สายพันธุ์ คือ I3711 , I4671 , I6001 เชื้อราที่เก็บมาจากตัวล่อที่เลี้ยงในน้ำ 1 สายพันธุ์ คือ SS440.2 และเชื้อแอคติโนมัยซิล 1 สายพันธุ์ คือ F4b31 ในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง 3 ชนิด ที่มีไคติน คือ Potat dextrose agar + ไคติน , Yeast extract + ไคติน และน้ำกลั่น + ไคติน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า มีวงใสเกิดขึ้นบนอาหารเลี้ยงเชื้อบางอาหารและพบเฉพาะบางเชื้อเท่านั้น ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการผิตเอ็นไซม์ไคติเนสออกมานอกเซลล์ โดยที่เชื้อราแมลง I3711 และราน้ำ SS440.2 ไม่สร้างวงใสในทุกอาหาร เชื้อราแมลง I4671 เกิดวงใสเฉพาะในอาหาร Yeast extract + ไคติน และในอาหารที่มีน้ำกลั่น + ไคติน เชื้อราแมลง I6001 เกิดวงใสเฉพาะในอาหาร Potat dextrose agar + ไคติน และ Yeast extract + ไคติน เชื้อแอคติโนมัยซิส F4b31 เกิดวงใสเฉพาะในอาหาร Yeast extract + ไคติน และในอาหารที่มีน้ำกลั่น+ ไคติน เมื่อนำเชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างวงใสในแต่ละอาหารจากการทดสอบขั้นต้นมาเฉพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบเหลวสูตรเดิม และเพิ่มอาหารที่ไม่มีไคตินด้วยเพื่อทราบการเปรียบเทียบ ยกเว้นอาหารที่มีน้ำกลั่น + ไคติน จะไม่ทดสอบอาหารที่มีแต่น้ำกลั่น โดยเก็บเชื้อทุก 3, 7 และ 14 วัน พบว่า สามารถตรวจพบกิจกรรมของเอนไซม์ได้จากเชื้อราแมลง I4671 เฉพาะเชื้อราที่เก็บ 3 และ 14 วัน สำเชื้อราที่เลี้ยงในอาหาร Yeast extract , 7 วัน สำหรับเชื้อราที่เลี้ยงในอาหาร Yeast extract + ไคติน และไม่สามารถตรวจพบกิจกรรมของเอ็นไซม์ได้ในเชื้อราที่เลี้ยงใน อาหารที่มีน้ำกลั่น + ไคติน เชื้อราแมลง I6001 ที่เลี้ยงในอาหาร Potato dextrose broth สามารถตรวจพบกิจกรรมของเอ็นไซม์ได้เฉพาะเชื้อที่เก็บ 3 และ 7 วัน แต่เมื่อเลี้ยงเชื้อในอาหาร Potato dextrose broth ที่มีไคตินด้วย สามารถตรวจวัดกิจกรรมของเอ็นไซม์เฉพาะเชื้อราที่เก็บ 14 วัน สำหรับอาหาร Yeast extract สามารถตรวจวัดกิจกรรมของเอ็นไซม์ได้เฉพาะเชื้อที่เก็บ 7 และ 14 วันในอาหาร Yeast extract ที่มีไคติน สามารถตรวจวัดกิจกรรมของเอ็นไซม์ได้เฉพาะเชื้อทีเก็บ 3 และ 14 วัน เชื้อแอคติโนมัย F4b31 นั้นไม่สามารถตรวจวัดกิจกรรมของเอ็นไซม์ในทุกเวลาและทุกอาหารได้ การที่ไม่สามารถตรวจสอบวัดกิจกรรมของเอ็นไซม์ได้ในบางอาหารของเชื้อจุลินทีย์บางชนิดอาจเป็นเพราะเอ็นไซม์อาจจะเสื่อมสภาพจากการเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม ปริมาณของเอ็นไซม์ที่ผลิตได้น้อยมาก สภาวะที่ใช้เลี้ยงไม่เหมาะสมในการสร้างเอ็นไซม์ไคติเนส และอาจะเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นที่จะนำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็งในครั้งแรกและนำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบเหลวแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบเบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง สามารถบอกได้อย่างคร่าว ๆ ได้ว่ามีเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ใดบ้างที่สามารถผลิตเอ็นไซม์ไคติเนสออมานอกเซลล์ เมื่อนำมาเลี้ยงในอาหารที่มีไคตินเป็นองค์ประกอบ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป
-
4903 การเหนี่ยวนำของไคตินในการสร้างเอนไซม์ไคติเนส /project-all/item/4903-2016-09-09-03-24-56_4903เพิ่มในรายการโปรด