การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์ของความฉ่ำของสับปะรดนางแล
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์กับความฉ่ำของสับปะรดนางแล มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความแม่นยำการใช้ภูมิปัญญาในการตรวจสอบและหาความแตกต่างทางเคมีและลักษณะทางกายภาพของสับปะรดที่ฉ่ำและไม่ฉ่ำ ซึ่งจากการทดลองพบว่า การตรวจสอบความถูกต้องพบว่าคนขายที่มีความชำนาญความสามารถตรวจสอบโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการตรวจสอบสับปะรด 10 ลูก มีความถูกต้อง 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนทั่วไปมีความถูกต้อง 40 เปอร์เซ็นต์ การทดลององค์ประกอบทางเคมีพบว่า สับปะรดที่ฉ่ำและไม่ฉ่ำมีองค์ประกอบทางเคมีที่ต่างกันดังนี้ ปริมาณน้ำตาลรวม (Total sugar) ในสับปะรดที่ฉ่ำจะมีปริมาณน้ำตาลรวมเฉลี่ย 2.952 กรัมต่อเนื้อสับปะรด 100 กรัม สับปะรดที่ไม่ฉ่ำมีปริมาณน้ำตาลรวมเฉลี่ย 1.886 กรัมต่อเนื้อสับปะรด 100 กรัม ปริมาณน้ำตาลรีดิวส์(Reducing Sugar) ในสับปะรดที่ฉ่ำจะมีปริมาณน้ำตาลรีดิวส์เฉลี่ย 0.223 กรัมต่อเนื้อสับปะรด 100 กรัม สับปะรดที่ไม่ฉ่ำจะมีปริมาณน้ำตาลรีดิวส์(Reducing Sugar) เฉลี่ย 0.145 กรัมต่อเนื้อสับปะรด 100 กรัม ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในน้ำ (TSS) ในสับปะรดที่ฉ่ำจะมีปริมาณค่าของความหวาน ในสับปะรดที่ฉ่ำจะมีเฉลี่ย 14.98 ดีกรีบริกซ์ ในสับปะรดไม่ฉ่ำมีค่าเฉลี่ย 14.98 ดีกรีบริกซ์ ส่วนค่าองค์ประกอบทางเคมีที่ไม่มีความต่างกันคือ ปริมาณกรดในสับปะรดที่ฉ่ำจะมีปริมาณเฉลี่ย 0.28 กรัมต่อสับปะรด 100 กรัม สับปะรดที่ไม่ฉ่ำจะมีปริมาณกรดมีปริมาณเฉลี่ย 0.29 กรัมต่อสับปะรด 100 กรัม ค่าความเป็นกรด ด่าง (pH)ในสับปะรดที่ฉ่ำมีค่าเฉลี่ย 3.45 ค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) ในสับปะรดที่ไม่ฉ่ำมีค่าเฉลี่ย 3.42 ส่วนการศึกษาลักษณะทางกายภาพพบว่า ความแน่นเนื้อ(Texture) ของสับปะรดในกลุ่มฉ่ำมีค่า 11.78 แรงกิโลกรัม (Kgf) สับปะรดไม่ฉ่ำจะมีค่าความแน่นเนื้อเฉลี่ย 12.47 แรงกิโลกรัม (Kgf) ค่าความสว่างของสีเนื้อจะมีความสว่าง (L) ของสับปะรดกลุ่มฉ่ำมีความสว่างมากกว่าสับปะรดกลุ่มไม่ฉ่ำ และค่าของสีเนื้อ (b) ของสำหรับจะมีสีเหลืองมากกว่าสับปะรดกลุ่มไม่ฉ่ำ ส่วนการวิเคราะห์สัญญาณเสียงที่เกิดจากการเคาะด้วยเครื่อง วิเคราะห์ความถี่เสียง พบว่า สับปะรดที่ฉ่ำและไม่ฉ่ำมีความถี่ที่แตกต่างกันในช่วงความถี่ 300 – 700 เฮิร์ต (Hz )
-
5113 การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์ของความฉ่ำของสับปะรดนางแล /project-all/item/5113-2016-09-09-03-28-35_5113เพิ่มในรายการโปรด