การเก็บรักษากล้วยไม้เอื้องสายสามสีโดยการชักนำให้เกิดการพักตัวของโพรโทคอร์มและการทำเมล็ดเทียม
ชื่อผู้ทำโครงงาน
วิจิตรา พลวิชัย
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
คำนูณ กาญจนภูมิ
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ศึกษาการชักนำให้เกิดการพักตัวของโพรโทคอร์มกล้วยไม้เอื้องสายสามสี โดยใช้น้ำตาลซูโครสความเข้มข้นสูง ก่อนที่จะเคลือบเป็นแคปซูล ซึ่งใช้โซเดียมอัลจิเนต 3% และแคลเซียมคลอไรด์ 100 มิลลิโม-ลาร์ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดเทียม ผลการทดลองพบว่าเมื่อเพาะเลี้ยงโพรโทคอร์มในอาหารเหลวสูตร VW (Vacin and Went, 1949) ที่มีน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 9% เป็นเวลา 1 เดือน จะไม่มีการยืดยาวของโพรโทคอร์ม เมล็ดเทียมที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 2 เดือน โดยไม่มีการงอก การใช้โพรโทคอร์มในระยะ Growth Index (GI) 5 และ 6 ในการทำเมล็ดเทียม มีอัตราการรอดชีวิต 50 และ 70 % ตามลำดับ ซึ่งเมล็ดเทียมดังกล่าวสามารถงอกเป็นต้นที่สมบูรณ์บนอาหารแข็งสูตร Modified VW ที่มีไคโตซาน (chitosan) 15 มิลลิลิตรต่อลิตร ได้ดีกว่าการปลูกบนเวอร์มิคูไลต์ (vermiculite)
คำสำคัญ
กล้วยไม้,เอื้อง,สาย,สาม,สี,โพรโทคอร์ม,เมล็ด,เทียม
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วิจิตรา พลวิชัย
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5416 การเก็บรักษากล้วยไม้เอื้องสายสามสีโดยการชักนำให้เกิดการพักตัวของโพรโทคอร์มและการทำเมล็ดเทียม /project-all/item/5416-2016-09-09-03-37-05-5416เพิ่มในรายการโปรด