ผลของแบคทีเรียบริเวณรากพืชที่มีต่อการสะสมสังกะสีและแคดเมียมพืชวงศ์ Brassicaceae
แบคทีเรียบริเวณรากพืชมีกลไกหลายอย่างในการเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงบทบาทของแบคทีเรียบริเวณรากพืชต่อการดูดซับสังกะสีและแคดเมียมของพืช โดยทำการทดสอบความงอกของเมล็ดพืชในวงศ์ Brassicacea จำนวน 4 ชนิด เพื่อประเมินค่าความทนของพืชที่มีต่อโลหะหนัก พบว่า ผักกวางตุ้ง (Brassica campertris var. chinensis) มีความเหมาะสมสำหรับทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาการสะสมโลหะหนักในภาวะไร้ดินที่ความเข้มข้นของสังกะสีที่ 0, 50, 100, 200 มก/ลิตร และแคดเมียมที่ 0, 5, 10, 20 มก/ลิตร พบว่าผักกวางตุ้งมีการสะสมของสังกะสีและแคดเมียมเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของโลหะหนักเพิ่มขึ้น จากการแยกเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักจากหมู่บ้านพะเด๊ะ อ.แม่สอด จ.ตาก พบว่ามีแบคทีเรียที่สามารถทนต่อสังกะสีที่ความเข้มข้น 500 มก/ลิตร ได้จำนวน 5 สายพันธุ์ และทนต่อแคดเมียมที่ความเข้มข้น 50 มก/ลิตรได้จำนวน 6 สายพันธุ์ เมื่อทำการทดสอบผลของแบคทีเรียที่มีต่อผักกวางตุ้งโดย root elongation assay และตรวจสอบการสร้าง Indole Acetic Acid (IAA) พบว่า แบคทีเรียสายพันธุ์ Pseudomonas aeruginosa และ Serratia marcescens ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งในสภาวะที่มีสังกะสีและแคดเมียมตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่ามีการสร้าง IAA เฉพาะในแบคทีเรียสายพันธุ์ S. marcescens เท่านั้น ดังนั้น จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าแบคทีเรียบริเวณรากพืชมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และมีแนวโน้มในการเพิ่มการสะสมโลหะหนักในพืชชนิดนี้
-
5431 ผลของแบคทีเรียบริเวณรากพืชที่มีต่อการสะสมสังกะสีและแคดเมียมพืชวงศ์ Brassicaceae /project-all/item/5431-brassicaceae-5431เพิ่มในรายการโปรด