ผลกระทบของกำแพงศักย์แบบแอนไอโซโทรปิกที่มีต่อแบบจำลองการปลูกฟิล์มบางด้วยวิธีโมเลกุลาร์บีมเอพิแทกซีโดยใช้แบบจำลอง Das Sarma-Tamborenea
จากการศึกษาผลกระทบของกำแพงศักย์แบบ Ehrlich-Schwoebel ที่มีต่อการปลูกฟิล์มบางพบว่า กำแพงศักย์แบบไอโซโทรปิกนำไปสู่การเกิดภูเขาแบบแอนไอโซโทรปิกบนพื้นผิวฟิล์มบาง อย่างไรก็ตามผลกระทบเนื่องจากกำแพงศักย์แบบแอนไอโซโทรปิกยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โครงงานนี้จึงรวบรวมผลของการศึกษาผลกระทบ ของกำแพงศักย์ดังกล่าวโดยใช้แบบจำลองการปลูกฟิล์มบางแบบ Das Sarma-Tamborenea ในการศึกษาผลของกำแพงศักย์ต่อแบบจำลองได้มีการใช้ค่าความน่าจะเป็นเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเคลื่อนที่ของอะตอมบนพื้นผิวของฟิล์มบาง ความแรงของกำแพงศักย์สามารถกำหนดได้ด้วยอัตราส่วนระหว่างความน่าจะเป็นที่อะตอมจะเคลื่อนที่บนระนาบของพื้นผิวเดียวกัน (PU) และความน่าจะเป็นที่อะตอมจะเคลื่อนลงสู่ระนาบที่ต่ำกว่า (PD) จากนั้นทำ การศึกษาพื้นผิวที่ได้จากแบบจำลองโดยใช้ฟังก์ชันความสัมพันธ์ของความสูง (height-height correlation function) ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงลักษณะของภูเขาที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวฟิล์มบางได้ ผลของแบบจำลองแสดงว่ากำแพงศักย์แบบแอนไอโซโทรปิกนำไปสู่พื้นผิวที่มีภูเขาแบบแอนไอโซโทรปิก ซึ่งรัศมีเฉลี่ยของภูเขามีค่าขึ้นอยู่กับความแรงของกำแพงศักย์ และจากการเปรียบเทียบระหว่างพื้นผิวที่มีกำแพงศักย์แบบไอโซโทรปิกและแอนไอโซโทรปิกที่ความแรงเท่ากัน พบว่าพื้นผิวทั้งสองมีภูเขาที่มียอดตัด โดยพื้นผิวที่มีภูเขาแบบไอโซโทรปิกจะมีรัศมีเฉลี่ยมากกว่า
-
5569 ผลกระทบของกำแพงศักย์แบบแอนไอโซโทรปิกที่มีต่อแบบจำลองการปลูกฟิล์มบางด้วยวิธีโมเลกุลาร์บีมเอพิแทกซีโดยใช้แบบจำลอง Das Sarma-Tamborenea /project-all/item/5569-das-sarma-tamboreneaเพิ่มในรายการโปรด