องค์ประกอบของอาหารในกระเพาะอาหารของปลาหนามหลัง Mystacoleucus marginatus (Valenciennes, 1842) บริเวณลำคลองสาขาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ศึกษาองค์ประกอบของอาหารเชิงปริมาณและคุณภาพในกระเพาะของปลาหนามหลัง Mystacoleucus marginatus (Valenciennes, 1842) ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕o พรรษา สยามบรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เก็บรวบรวมจากลำคลองสาขาของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ใน 4 บริเวณ ได้แก่ คลองป่าพะยอม คลองนาท่อม คลองตะโหมดและคลองรัตภูมิ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2549 ถึงเดือนพฤษภาคม 2550 โดยแบ่งขนาดของปลาตามความยาวเหยียดออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 ขนาด 0-3.0 เซนติเมตร กลุ่มที่ 2 ขนาด 3.1-6.0 เซนติเมตร กลุ่มที่ 3 ขนาด 6.1-9.0เซนติเมตร และกลุ่มที่ 4 ขนาด 9.1-12.0 เซนติเมตร จากการศึกษาขั้นต้น พบว่ามีความผันแปรของปริมาณและองค์ประกอบของชนิดอาหารตามขนาดกลุ่มความยาวของปลา โดยกลุ่มปลาหนามหลังขนาด 0-3.0เซนติเมตร ขนาด 3.1-6.0 เซนติเมตร และขนาด 6.1-9.0 เซนติเมตร กินแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ชิ้นส่วนพืช และแมลงน้ำ ส่วนกลุ่มปลาหนามหลังขนาด 9.1-12.0 เซนติเมตร กินแมลงน้ำ หอยสองฝาสกุลCorbicula และกุ้งสกุล Caridina ซึ่งสอดคล้องกับการเจริญของระบบทางเดินอาหารและทฤษฎี River Continuum Concept
-
5783 องค์ประกอบของอาหารในกระเพาะอาหารของปลาหนามหลัง Mystacoleucus marginatus (Valenciennes, 1842) บริเวณลำคลองสาขาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา /project-all/item/5783-mystacoleucus-marginatus-valenciennes-1842เพิ่มในรายการโปรด